วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

CITES...

CITES...

ไซเตส (CITES)...

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention ) ประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรองอนุสัญญาในปี 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526คณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทย สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งเลขที่ 339/2535 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทยขึ้น โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES ในประเทศไทยมอบหมายให้ ส่วนราชการที่มีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลชนิดพันธุ์ที่ CITES ควบคุม คือสัตว์ป่า พืชป่า ของป่า อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้พืช อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมวิชาการเกษตรสัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมประมงปัจจุบัน การดำเนินงานการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า เพื่อมิให้ประชากรของสัตว์ป่าลดน้อยลงหรือสูญพันธุ์ไป กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการร่วมมือและประสานงานกับนานาชาติในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม โดยได้จัดตั้งด่านตรวจสัตว์ป่าขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือและจุดตรวจตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบการค้า การนำเข้า การส่งออกและนำผ่านแดนซึ่งสัตว์ป่า ที่กระทำผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 ในปัจจุบันได้จัดตั้งขึ้นแล้วจำนวน 49 ด่าน

CITES...

เริ่มมีขึ้นเมื่อสหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN ได้จัดการประชุมนานาชาติขึ้น ในปี 2516 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อร่างอนุสัญญา CITES ขึ้น มีประเทศที่เข้าร่วมประชุม 83 ประเทศรวมทั้งตัวแทนจากประเทศไทยด้วย โดยมีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันที 21 ประเทศ และในปีพ.ศ.2518 IUCN ได้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ CITES ขึ้น ทำหน้าที่บริหารอนุสัญญาฉบับนี้ ภายใต้การดูแลของ IUCN ปัจจุบันมีสำนักงานอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกกว่า 140 ประเทศ โดยสมาชิกจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนรายปีเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักเลขาธิการ CITES สำหรับประเทศไทยนั้น กรมป่าไม้เป็นผู้ขอตั้งงบประมาณเงินอุดหนุน CITES โดยช่วงปี พ.ศ. 2536 - 2538 ประเทศไทยต้องจ่ายเงินปีละ 112,000 บาท ให้กับ CITES

จุดประสงค์ของ CITES คือ...

การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือมีการคุกคาม ทำให้มีปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์ของ CITES ก็คือ การสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ( International Trade ) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศ สำหรับชนิดพันธุ์อื่นๆ (Native Species)

โครงสร้างของ CITES ประกอบไปด้วย...

1. สำนักงานเลขาธิการ CITES ( CITES Secretariat ) ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารสูงสุด คือ เลขาธิการ ( Secretary General ) ซึ่งแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการบริการของ UNEP และบุคคลากรประจำหน้าที่ฝ่ายต่าง โดยหน้าที่ของสำนักเลขาธิการ CITES มีดังนี้จัดประชุมใหญ่สมาชิกอนุสัญญาฯ และอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการประชุมทำหน้าที่ตามมาตรา 15 และ 16 แห่งอนุสัญญา CITES ว่าด้วยการแก้ไขบัญชีรายชื่อสัตว์และพืชในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix I-II-III )ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ภาคี CITESตรวจสอบรายงานประจำปีของภาคี CITESกระตุ้นภาคี CITES ให้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา CITESจัดพิมพ์รายชื่อชนิดพันธุ์ใน Appendix I-IIและ III แจกจ่ายแก่สมาชิกพร้อมด้วยคำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อการจำแนกชนิดพันธุ์นั้นจัดทำรายงานผลงานประจำปีของ สำนักงานเลขาธิการ CITES เสนอสมาชิกให้คำแนะนำแก่สมาชิกในการปฏิบัติตามระเบียบอนุสัญญา CITES

2. คณะกรรมาธิการประจำ ( Standing Committee ) ทำหน้าที่ดังนี้ คือให้คำแนะนำแก่สำนักเลขาธิการ CITES ในการบริหารงานตาม อนุสัญญาฯ ประสานงานในการจัดประชุมใหญ่ระหว่างสำนักเลขาธิการ CITES และประเทศเจ้าภาพเป็นคณะกรรมการควบคุมกฎระเบียบวาระการประชุมใหญ่ภาคี CITES รับรองงบประมาณประจำปีของสำนักเลขาธิการ CITES ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่สมาชิกขอร้องคณะกรรมาธิการประจำประกอบด้วยบุคคล 9 คน ได้แก่ ผู้แทนจาก 6 ภูมิภาคหลัก (Six major geographic region ) ของ CITES ซึ่งเลือกตั้งโดยสมาชิกในแต่ละภูมิภาค มีวาระการปฏิบัติงาน 2 สมัยประชุมใหญ่สามัญ ได้แก่ แอฟริกา,เอเซีย,อเมริกาใต้,ยุโรป,อเมริกาเหนือ,Oceania รวม 6 คนประเทศผู้สนับสนุน ( Depositary Government ) 1 คน ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะเป็นกรรมาธิการถาวรประเทศเจ้าภาพการประชุมใหญ่สมาชิก CITES ครั้งที่ผ่านมาแล้วและครั้งต่อไป รวม 2 คน ซึ่งมีวาระการปฏิบัติงาน 2 สมัยการประชุมใหญ่สามัญ เช่นกัน สำหรับประธานและรองประธานกรรมาธิการให้เลือกจากผู้แทน 6 ภูมิภาคและผู้แทน 6 ภูมิภาคเท่านั้นที่มีสิทธิ์ออกเสียง ถ้าเสียงเท่ากันผู้แทนจากประเทศผู้สนับสนุนจะเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด

3. คณะกรรมาธิการด้านการสัตว์ ( Animal Committee ) สำนักเลขาธิการ CITES เป็นกรรมการด้านวิชาการคอยตรวจตราควบคุมปริมาณการค้าสัตว์ป่า พิจารณาเพิ่ม-ลดบัญชีสัตว์ป่า ตรวจสอบสภาวะใกล้จะสูญพันธุ์ของสัตว์ป่า ซึ่งจะประกอบด้วยตัวแทนจาก 6 ภูมิภาคหลัก

4. คณะกรรมาธิการด้านพืช (Plant Committee ) มีหน้าที่คล้ายกับคณะกรรมาธิการด้านสัตว์ แต่เป็นด้านพืช ประกอบด้วยผู้แทนจาก 6 ภูมิภาคหลัก เช่นกัน

5. คณะกรรมาธิการจัดทำคู่มือจำแนกพันธุ์ ( Identification Manual Committee ) มีหน้าที่จัดทำคู่มือจำแนกชนิดพันธุ์สัตว์ป่า พืชป่า สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของประเทศสมาชิกใช้เป็นคู่มือในการออกใบอนุญาต ประกอบด้วยกรรมการอาสาสมัคร

6. คณะกรรมาธิการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ (Nomenciature Committee ) มีหน้าที่พิจารณาชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชป่า สัตว์ป่าใน Appendix I-II-III ประกอบด้วยกรรมการอาสาสมัคร

หน้าที่ของสมาชิก CITES คือ...

1.สมาชิกต้องกำหนดมาตราการในการบังคับใช้อนุสัญญา CITES มิให้มีการค้าสัตว์ป่า พืชป่าที่ผิดระเบียบอนุสัญญาฯ โดยมีมาตรการลงโทษผู้ค้า ผู้ครอบครอง ริบของกลางและส่งของกลางกลับแหล่งกำเนิด กรณีที่ทราบถึงถิ่นกำเนิด

2. ต้องตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า พืชป่าระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า พืชป่า และการขนส่งที่ปลอดภัยตามระเบียบอนุสัญญา CITES

3.ต้องส่งรายงานประจำปี ( Annual Report ) เกี่ยวกับสถิติการค้าสัตว์ป่า พืชป่าของประเทศตนแกสำนักงานเลขาธิการ CITES

4. ต้องจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการ ( Management Authority ) และคณะทำงานฝ่ายวิทยาการ ( Scientific Authority ) ประจำประเทศ เพื่อควบคุมการค้าสัตว์ป่า พืชป่า

5. มีสิทธิ์เสนอขอเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในบัญชี Appendix I-II-III ให้ภาคีพิจารณา

ระบบการควบคุมของ CITES...

การค้าสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศจะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต ( Permit ) ซึ่งหมายถึงว่า สัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุมต้องมีใบอนุญาตในการ

1. นำเข้า ( Import )

2. ส่งออก ( Export )

3. นำผ่าน ( Transit )

4. ส่งกลับออกไป ( Re-export )

สำหรับชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix ) ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ว่า

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1...

เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัยและเพาะพันธุ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกให้ได้ โดยจะต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆด้วย


1. กระทิง

2. กวางผา

3. ปรี

4. ชะนีธรรมดา

5. ชะนีมงกุฎ

6. ชะนีมือดำ

7. ชะมดแปลงลายจุดหรืออีเห็นลายเสือ

8. ช้าง

9. นากใหญ่ธรรมดา

10. เนื้อทราย

11. ปลาวาฬแกลบครีบดำ

12. ปลาวาฬมิงค์

13. ปลาวาฬหัวทุย

14. พะยูนหรือหมูน้ำ

15. แมวดาวหรือแมวแกว

16. แมวป่าหัวแบน

17. แมวลายหินอ่อน

18. แรด

19. กระซู่

20. ละองหรือละมั่ง

21. เลียงผา

22. ปลาโลมาขาวเทา

23. ปลาโลมาขาวทะเลใต้

24. ปลาโลมาหัวบาตรหลังเรียบ

25. สมเสร็จ

26. เสือโคร่ง

27. เสือดาวหรือเสือดำ

28. เสือไฟ

29. เสือลายเมฆ

30. หมีควายหรือหมีดำ

31. หมีหมาหรือหมีคน

32. ไก่ฟ้าหางลายขวาง

33. นกกาฮัง

34. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

35. นกโจรสลัด

36. นกชนหิน

37. นกชาปีไหน

38. นกชายเลนเขียวลายจุด

39. นกแต้วแล้วท้องดำ

40. เป็ดก่า

41. เหยี่ยวเพเรกริน

42. จระเข้น้ำเค็ม

43. จระเข้น้ำจืด

44. ตะกวด

45. ตะโขง

46. เต่ากระอาน

47. เต่ากระ

48. เต่าตนุ

49. เต่าทะเลลอกเกอร์เฮด

50. เต่าหญ้าตาแดงหรือเต่าสังกะสี

51. เต่ามะเฟือง

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 ...

เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออก แต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆในธรรมชาติ

1. ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง Pteropus lylei

2. ค้างคาวแม่ไก่เกาะ Pteropus hypomelanus

3. ค้างคาวแม่ไก่ฝน Pteropus vampyrus

4. ชะมดแปลงลายแถบ

5. นากใหญ่ขนเรียบ

6. นากใหญ่จมูกขนหรือนากใหญ่หัวปลาดุก

7. นากเล็กเล็บสั้น

8. ปลาโลมาจุก

9. ปลาโลมาหัวขวดมลายู

10. ปลาโลมาหัวขวดธรรมดา

11. ปลาโลมาหัวขวดปากสั้น

12. ปลาโลมาหัวบาตรครีบหลัง

13. ปลาวาฬแกลบครีบขาวดำ

14. ลิงลม

15. ลิงกัง

16. ลิงไอ้เงี้ยะ

17. ลิงเสน

18. ลิงวอก

19. ลิงแสม

20. ค่างดำ

21. ค่างแว่นถิ่นใต้

22. ค่างหงอก

23. ค่างแว่นถิ่นเหนือ

24. กระแตธรรมดา

25. กระแตเล็ก

26. กระแตหางหมู

27. กระแตหางขนนก

28. ลิ่นหรือนิ่มพันธุ์มลายู Manis javanica

29. เสือปลา

30. แมวป่าหรือเสือกระต่าย Felis chaus

31. หมาใน

32. อีเห็นน้ำ

33. อีเห็นลายเสือโคร่งหรืออีเห็นลายพาด

34. นกกก นกกาฮังหรือนกกะวะ

35. นกกระเรียน

36. นกกระสาดำ

37. นกแก้วโม่ง

38. นกแขกเต้า

39. นกแก้วหัวแพร

40. นกกะลิง,นกกะแล

41. นกหกใหญ่

42. นกหกเล็กปากแดง

43. นกหกเล็กปากดำ

44. นกแสก

45. นกแสกแดง

46. นกเค้าเหยี่ยว

47. นกเค้าหน้าผากขาว

48. นกเค้าแดง

49. นกเค้าภูเขา

50. นกเค้าหูยาวเล็ก

51. นกเค้ากู่,นกฮูก

52. นกเค้าแคระ

53. นกเค้าโม่ง,นกเค้าแมว

54. นกเค้าจุด

55. นกเค้าป่าหลังจุด

56. นกเค้าป่าสีน้ำตาล

57. นกเค้าแมวหูสั้น

58. นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล

59. นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา

60. นกเค้าใหญ่สีคล้ำ

61. นกทึดทือพันธุ์เหนือ

62. นกทึดทือพันธุ์มลายู

63. นกเงือกหัวแรด

64. นกแต้วแล้วลาย

65. นกเป็ดหงส์

66. นกยูง

67. เหยี่ยวออสเปร

68. เหยี่ยวขาว

69. เหยี่ยวดำ

70. เหยี่ยวแดง

71. เหยี่ยวกิ้งก่าสีน้ำตาล

72. เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ

73. เหยี่ยวนกเขาหงอน

74. เหยี่ยวนกเขาหงอน

75. เหยี่ยวนกกระจอกใหญ่

76. เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน

77. เหยี่ยวนกเขาชิเครา

78. เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก

79. เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น

80. เหยี่ยวผึ้ง

81. เหยี่ยวทะเลทราย

82. เหยี่ยวปีกแดง

83. เหยี่ยวหน้าเทา

84. นกอินทรีหัวนวล

85. นกออก

86. เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา

87. เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา

88. เหยี่ยวนิ้วสั้น

89. เหยี่ยวรุ้ง

90. เหยี่ยวภูเขา

91. เหยี่ยวต่างสี

92. เหยี่ยวดำท้องขาว

93. เหยี่ยวหงอนสีน้ำตาลท้องขาว

94. เหยี่ยวท้องแดง

95. นกอินทรีแถบปีกแดง

96. นกอินทรีเล็ก

97. นกอินทรีดำ

98. นกอินทรีปีกลาย

99. นกอินทรีสีน้ำตาล

100. นกอินทรีหัวไหล่ขาว

101. พญาแร้ง

102. อีแร้งดำหิมาลัย

103. อีแร้งสีน้ำตาล

104. อีแร้งเทาหลังขาว

105. เหยี่ยวทุ่ง

106. เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ

107. เหยี่ยวด่างดำขาว

108. เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว

109. เหยี่ยวแมลงปอขาแดง

110. เหยี่ยวแมลงปอขาดำ

111. เหยี่ยวเคสตรัส

112. เหยี่ยวตีนแดง

113. เหยี่ยวฮอบบี้ยุโรป

114. เหยี่ยวค้างคาว

115. นกแว่นสีเทา

116. นกแว่นสีน้ำตาล

117. นกหว้า

118. งูจงอาง

119. งูสิงหางลาย

120. งูเหลือม

121. งูหลาม

122. งูหลามปากเป็ด

123. งูเห่า

124. เหี้ย,เหี้ยดอก,มังกรดอก

125. ตัวเงินตัวทอง,เหาช้าง

126. ตุ๊ดตู่

127. แลนดอน

128. เต่าเหลือง,เต่าเทียม,เต่าขี้ผึ้ง

129. เต่าเสือ,เต่ากระ,เต่าเขาสูง

130. เต่าหก

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3...

เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว ขอความร่วมมือประเทศภาคีให้ช่วยดูแลการนำเข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด

1. หมาจิ้งจอก Canis aureus

2. หมาไม้ Martes flavigula

3. เพียงพอนเหลือง Mustela sibirica

4. หมีขอหรือบินตุรง Arctictis binturong

5. อีเห็นธรรมดา Paradoxurus hermaphroditus

6. ชะมดแผงสันหางดำ Viverra megaspila

7. ชะมดหางสั้นหางปล้อง Viverra Zibetha

8. ชะมดเช็ด Viverricula indica

9. พังพอนกินปู Herpestes urva

10. ควายบ้าน Bulalus arnee

11. นกกระทาดงอกสีน้ำตาล Arborophila orientalis

12. นกกระทาดงแข้งเขียว Arborophila charltonii

13. ไก่ฟ้าหน้าเขียว Lophura ignita

14. ไก่จุก Rollulus roulroul

15. งูปากกว้างน้ำเค็ม Cerberus rhynchops

16. งูลายสอ Xenochrophis piscator

17. งูแมวเซา Vipera russellii


.........................................................................

ไม่มีความคิดเห็น: