วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

เขื่อนคืออะไร....

เขื่อนคือ...

เขื่อน : เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่สำหรับกั้นทางน้ำ เพื่อใช้ในการเก็บกักน้ำและป้องกันอุทกภัย รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนบนของเขื่อนจะประกอบไปด้วยส่วนที่เรียกว่าทางน้ำล้น สำหรับให้น้ำที่สูงกว่าระดับที่ต้องการไหลผ่านมาที่ฝั่งปลายน้ำ มากกว่าครึ่งหนึ่งของแม่น้ำสายหลักทั่วโลกจะมีเขื่อนกั้นไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง

ชนิดของเขื่อน : จะจำแนกตามชนิดของวัสดุก่อสร้าง เช่น เขื่อนหิน เขื่อนดิน เขื่อนคอนกรีตเขื่อนคอนกรีตบดอัด หรือเขื่อนไม้

เขื่อนหิน คือเขื่อนชนิดวัสดุถม (Embankment Dam) ประเภทหนึ่ง อาจเรียกว่า เขื่อนหินถม หรือเขื่อนหินทิ้ง ปรกติจะต้องมีแกนเป็นวัสดุทึบน้ำ คือดินเหนียว


ประเภทของเขื่อนหิน
1. เขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว
2. แกนดินเหนียวแบบแกนกลาง
3. แกนดินเหนียวแบบแกนเฉียง
4. แกนดินเหนียวแบบปิดด้านเหนือน้ำ
5. เขื่อนหินทิ้งแกนผนังบาง
6. เขื่อนหินทิ้งดาดหน้าด้วยคอนกรีต

ข้อดีของเขื่อนหินทิ้ง
1. เหมาะสำหรับพื้นที่ซึ่งมีสภาพฐานรากไม่ดี
2. เหมาะสำหรับบริเวณที่มีแหล่งดินน้อย
3. ก่อสร้างได้เร็ว

ข้อพิจารณาสำหรับหินที่ใช้ในการก่อสร้าง
1. แหล่งหิน
2. คุณสมบัติความคงทนของหิน
3. กำลังของหิน

เขื่อนดิน คือเขื่อนที่ก่อสร้างด้วยการถมดินบดอัดแน่น มีวัสดุหลักเป็นดินประเภททึบน้ำ

ประเภทของเขื่อนดิน
เขื่อนดินมี 2 ประเภท คือ
เขื่อนดินประเภทเนื้อเดียว (Homogeneous Earth Dam) เป็นเขื่อนซึ่งก่อสร้างด้วยดินเหนียว ซึ่งเป็นดินประเภททึบน้ำ ปิดทับด้านเหนือน้ำด้วยหินทิ้ง หรือหินเรียง เพื่อป้องกันการกัดเซาะจากคลื่น ด้านท้ายน้ำมักจะปลูกหญ้าป้องกันการพังทลายของดิน
เขื่อนดินประเภทแบ่งโซน (Zoned-Earth Dam) ตัวเขื่อนจะแบ่งโครงสร้างเขื่อนเป็นโซน โดยแกนกลางของเขื่อนจะเป็นชั้นดินเหนียวทึบน้ำ มีชั้นกรองเป็นวัสดุประเภทกรวดหรือทราย ชั้นถัดจากแกนเขื่อนจะเป็นดินประเภทกึ่งทึบน้ำ และปิดทับด้านเหนือน้ำด้วยหินทิ้ง หรือหินเรียง เพื่อป้องกันการกัดเซาะจากคลื่น เช่นเดียวกับเขื่อนดินประเภทเนื้อเดียว


หลักการออกแบบเขื่อน
ในการออกแบบเขื่อนจะต้องพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
1. เสถียรภาพของตัวเขื่อน
2. แรงแบกทานของชั้นหินฐานราก
3. การควบคุมการรั่วซึมของน้ำ
4. ความสูงเผื่อของสันเขื่อน
5. การป้องกันและควบคุมการกัดเซาะจากคลื่น
6. การจัดการวัสดุ

ขั้นตอนในการออกแบบเขื่อน
การออกแบบเขื่อนมีขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้
1. ศึกษา สังเกตการณ์ รวบรวมข้อมูล เช่นสภาพฐานราก แหล่งวัสดุ น้ำหนักที่กระทำ
2. เลือกประเภทของเขื่อน
3. วิเคราะห์การรั่วซึมของน้ำ และออกแบบชั้นกรอง
4. วิเคราะห์เสถียรภาพของตัวเขื่อน
5. วิเคราะห์การทรุดตัวและการเคลื่อนตัว
6. ออกแบบหน้าตัดเขื่อนขั้นสุดท้าย
7. พิจารณาอุปกรณ์ตรวจวัดพฤติกรรมของเขื่อนเพื่อความปลอดภัย
8. จัดทำแบบขั้นสุดท้ายและข้อกำหนดทางเทคนิค



เขื่อนคอนกรีต เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำซึ่งก่อสร้างด้วยวัสดุคอนกรีต


ประเภทของเขื่อนคอนกรีต
เขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงน้ำหนัก (Gravity dam) บางครั้งจะเรียกว่าแบบฐานแผ่ เขื่อนประเภทนี้จะอาศัยน้ำหนักของตัวเขื่อนถ่ายน้ำหนักลงชั้นฐานราก ฐานรากของเขื่อนประเภทนี้จะต้องเป็นชั้นหินที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี เนื่องจากตัวเขื่อนจะมีขนาดใหญ่มาก
- ตัวอย่างของเขื่อนประเภทนี้ในประเทศไทย คือเขื่อนแม่มาว และเขื่อนกิ่วลม

เขื่อนคอนกรีตแบบโค้ง (Arch dam) เขื่อนประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นรูปโค้ง อาจเป็นแบบโค้งทางเดียว (โค้งในแนวราบ) หรือโค้งสองทาง (โค้งในแนวราบและแนวดิ่ง) ตัวเขื่อนจะมีลักษณะบาง เนื่องจากพฤติกรรมการรับแรงของโค้ง (Arch) จะสามารถรับแรงได้ดี น้ำหนักจากตัวเขื่อนและแรงกระทำจากน้ำจะถูกถ่ายไปยังจุดรองรับทั้ง 2 ข้างของเขื่อนแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นหินฐานราก
- ตัวอย่างของเขื่อนประเภทนี้ในประเทศไทย คือเขื่อนภูมิพล

เขื่อนคอนกรีตแบบค้ำยัน หรือแบบครีบ (Buttress dam) เขื่อนประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นรูปแผ่นคอนกรีตและมีค้ำยันด้านหลัง

เขื่อนไม้ เป็นสิ่งก่อสร้างขวางลำน้ำเพื่อวัตถุประสงค์ในการกันน้ำ ปรกติจะใช้เป็นผนังกั้นน้ำชั่วคราวในการก่อสร้างอาคารในลำน้ำ เช่นประตูระบายน้ำ หรือประตูเรือสัญจร ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมักไม่นิยมใช้ โดยจะใช้เข็มพืดเหล็กแทน

ประโยชน์ของเขื่อนที่สำคัญ

1. การชลประทานโครงการนี้จะสนับสนุนโครงการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำที่บ้านคูระ โดยสามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกด้านฝั่งซ้ายได้จำนวนประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ไร่ และฝั่งขวาของแม่น้ำปัตตานี จำนวน ๑๘๐,๐๐๐ ไร่ รวมเป็นพื้นที่ได้รับน้ำประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่


2.ช่วยบรรเทาอุทกภัยหลังจากการก่อสร้างเขื่อนบางลางแล้วเสร็จ จะสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง ๑๔๕๔.๓๖ ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้น น้ำที่เคยไหลเทจากเขาลงมาอย่างฉับพลัน และทำความเสียหายแก่การเพาะปลูก ตลอดจนบ้านเรือนราษฎร และเส้นทางคมนาคมในท้องที่จังหวัดยะลา และปัตตานี จะถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง ซึ่งจะสามารถลดความเสียหายจากอุทกภัยลงได้ และที่สำคัญขณะนี้ทางเขื่อนบางลางได้ติดตั้งระบบโทรมาตร เพื่อติดตามดูปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำและระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อย่างถูกต้องอีกด้วย โดยติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนและวัดระดับน้ำที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และที่เหนือเขื่อนบางลาง

3. การประมงน้ำจืดอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง จะมีพื้นที่น้ำท่วมเหนือเขื่อนประมาณ ๓๐,๐๐๐ ไร่ อ่างเก็บน้ำแห่งนี้จึงสามารถให้ประโยชน์ทางด้านการประมงน้ำจืดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบๆอ่างเก็บน้ำมีอาชีพทางด้านประมงน้ำจืดและมีรายได้เสริมจากการจับปลา ในแต่ละปีทางกองโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง ได้มีการปล่อยพันธุ์ปลา พันธุ์กุ้ง เพิ่มลงในอ่างเก็บน้ำปีละหลายล้านตัว


4. การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นราษฎรที่ถูกน้ำท่วมในอ่างเก็บน้ำจำนวน ๑,๑๓๓ ครอบครัว จะได้รับการอพยพไปอยู่ในที่ดินจัดสรรแห่งใหม่ พร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น ถนน ระบบน้ำประปา และไฟฟ้า ให้แก่ราษฎรอพยพ และได้จัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ ๒๐ ไร่ โดยแบ่งออกเป็นที่อยู่อาศัย ๒ ไร่ และที่เพาะปลูก ๑๘ ไร่ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้นำต้นยางพาราพันธุ์ดี มาปลูกให้ด้วย ที่อยู่อาศัย ๒ ไร่ นั้น จะจัดเป็นรูปหมู่บ้านอยู่ใกล้ถนน มีน้ำ ไฟฟ้าในหมู่บ้าน มีโรงเรียน สุเหร่า หรือวัด และสิ่งสาธารณูปโภคที่จำเป็น นอกจากนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะหาพันธุ์ไม้ที่ให้ผลิตผล เช่น กาแฟ สะตอ มะพร้าว ขนุน และพันธุ์ผักต่างๆ ให้ราษฎรนำไปปลูก เพื่อใช้บริโภคและขายเป็นรายได้ภายในครอบครัว

5. การท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ การก่อสร้างเขื่อนบางลางทำให้เหนือเขื่อนกลายเป็นที่เก็บกักน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เป็นทะเลสาบน้ำจืด ประกอบกับพื้นที่บริเวณหัวงานเขื่อนมีทิวทัศน์งดงามที่เต็มไปด้วยต้นไม้ที่ร่มรื่นและพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงาม จึงคาดหมายได้ว่า เขื่อนบางลางจะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งในภาคใต้ พร้อมกับมีร้านอาหาร บ้านพักรับรอง สนามกีฬา สระว่ายน้ำ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนที่เขื่อนบางลาง


6. ผลิตกระแสไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่อง กำลังผลิตรวม 72 MW.โรงไฟฟ้าบ้านสันติ ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 เครื่อง กำลังผลิตรวม 1.3 MW.สถานีไฟฟ้าแรงสูงบางลาง 115 kV. เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในจังหวัดยะลาบางส่วน






รายชื่อเขื่อนที่สำคัญในประเทศไทย
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
เขื่อนอุบลรัตน์ (เขื่อนพองหนีบ) จังหวัดขอนแก่น
เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) จังหวัดชัยภูมิ
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง จังหวัดตาก
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา
เขื่อนคีรีธาร จังหวัดจันทบุรี
เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี-สระบุรี
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเขื่อนแห่งแรกในประเทศไทย
เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขื่อนแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี

ไม่มีความคิดเห็น: