วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

CITES...

CITES...

ไซเตส (CITES)...

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention ) ประเทศไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 โดยลงนามรับรองอนุสัญญาในปี 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526คณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทย สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งเลขที่ 339/2535 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2535 แต่งตั้งคณะกรรมการ CITES ประจำประเทศไทยขึ้น โดยมีหน้าที่ดำเนินการในกิจกรรมต่างๆและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา CITES ในประเทศไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของ CITES ในประเทศไทยมอบหมายให้ ส่วนราชการที่มีหน้าที่โดยตรง ในการดูแลชนิดพันธุ์ที่ CITES ควบคุม คือสัตว์ป่า พืชป่า ของป่า อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้พืช อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมวิชาการเกษตรสัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมประมงปัจจุบัน การดำเนินงานการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า เพื่อมิให้ประชากรของสัตว์ป่าลดน้อยลงหรือสูญพันธุ์ไป กรมป่าไม้ ได้ดำเนินการร่วมมือและประสานงานกับนานาชาติในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม โดยได้จัดตั้งด่านตรวจสัตว์ป่าขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือและจุดตรวจตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันการลักลอบการค้า การนำเข้า การส่งออกและนำผ่านแดนซึ่งสัตว์ป่า ที่กระทำผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535 ในปัจจุบันได้จัดตั้งขึ้นแล้วจำนวน 49 ด่าน

CITES...

เริ่มมีขึ้นเมื่อสหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN ได้จัดการประชุมนานาชาติขึ้น ในปี 2516 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อร่างอนุสัญญา CITES ขึ้น มีประเทศที่เข้าร่วมประชุม 83 ประเทศรวมทั้งตัวแทนจากประเทศไทยด้วย โดยมีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันที 21 ประเทศ และในปีพ.ศ.2518 IUCN ได้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ CITES ขึ้น ทำหน้าที่บริหารอนุสัญญาฉบับนี้ ภายใต้การดูแลของ IUCN ปัจจุบันมีสำนักงานอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกกว่า 140 ประเทศ โดยสมาชิกจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนรายปีเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักเลขาธิการ CITES สำหรับประเทศไทยนั้น กรมป่าไม้เป็นผู้ขอตั้งงบประมาณเงินอุดหนุน CITES โดยช่วงปี พ.ศ. 2536 - 2538 ประเทศไทยต้องจ่ายเงินปีละ 112,000 บาท ให้กับ CITES

จุดประสงค์ของ CITES คือ...

การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือมีการคุกคาม ทำให้มีปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์ของ CITES ก็คือ การสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ( International Trade ) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศ สำหรับชนิดพันธุ์อื่นๆ (Native Species)

โครงสร้างของ CITES ประกอบไปด้วย...

1. สำนักงานเลขาธิการ CITES ( CITES Secretariat ) ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารสูงสุด คือ เลขาธิการ ( Secretary General ) ซึ่งแต่งตั้งโดยผู้อำนวยการบริการของ UNEP และบุคคลากรประจำหน้าที่ฝ่ายต่าง โดยหน้าที่ของสำนักเลขาธิการ CITES มีดังนี้จัดประชุมใหญ่สมาชิกอนุสัญญาฯ และอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการประชุมทำหน้าที่ตามมาตรา 15 และ 16 แห่งอนุสัญญา CITES ว่าด้วยการแก้ไขบัญชีรายชื่อสัตว์และพืชในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix I-II-III )ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ภาคี CITESตรวจสอบรายงานประจำปีของภาคี CITESกระตุ้นภาคี CITES ให้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา CITESจัดพิมพ์รายชื่อชนิดพันธุ์ใน Appendix I-IIและ III แจกจ่ายแก่สมาชิกพร้อมด้วยคำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อการจำแนกชนิดพันธุ์นั้นจัดทำรายงานผลงานประจำปีของ สำนักงานเลขาธิการ CITES เสนอสมาชิกให้คำแนะนำแก่สมาชิกในการปฏิบัติตามระเบียบอนุสัญญา CITES

2. คณะกรรมาธิการประจำ ( Standing Committee ) ทำหน้าที่ดังนี้ คือให้คำแนะนำแก่สำนักเลขาธิการ CITES ในการบริหารงานตาม อนุสัญญาฯ ประสานงานในการจัดประชุมใหญ่ระหว่างสำนักเลขาธิการ CITES และประเทศเจ้าภาพเป็นคณะกรรมการควบคุมกฎระเบียบวาระการประชุมใหญ่ภาคี CITES รับรองงบประมาณประจำปีของสำนักเลขาธิการ CITES ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่สมาชิกขอร้องคณะกรรมาธิการประจำประกอบด้วยบุคคล 9 คน ได้แก่ ผู้แทนจาก 6 ภูมิภาคหลัก (Six major geographic region ) ของ CITES ซึ่งเลือกตั้งโดยสมาชิกในแต่ละภูมิภาค มีวาระการปฏิบัติงาน 2 สมัยประชุมใหญ่สามัญ ได้แก่ แอฟริกา,เอเซีย,อเมริกาใต้,ยุโรป,อเมริกาเหนือ,Oceania รวม 6 คนประเทศผู้สนับสนุน ( Depositary Government ) 1 คน ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะเป็นกรรมาธิการถาวรประเทศเจ้าภาพการประชุมใหญ่สมาชิก CITES ครั้งที่ผ่านมาแล้วและครั้งต่อไป รวม 2 คน ซึ่งมีวาระการปฏิบัติงาน 2 สมัยการประชุมใหญ่สามัญ เช่นกัน สำหรับประธานและรองประธานกรรมาธิการให้เลือกจากผู้แทน 6 ภูมิภาคและผู้แทน 6 ภูมิภาคเท่านั้นที่มีสิทธิ์ออกเสียง ถ้าเสียงเท่ากันผู้แทนจากประเทศผู้สนับสนุนจะเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด

3. คณะกรรมาธิการด้านการสัตว์ ( Animal Committee ) สำนักเลขาธิการ CITES เป็นกรรมการด้านวิชาการคอยตรวจตราควบคุมปริมาณการค้าสัตว์ป่า พิจารณาเพิ่ม-ลดบัญชีสัตว์ป่า ตรวจสอบสภาวะใกล้จะสูญพันธุ์ของสัตว์ป่า ซึ่งจะประกอบด้วยตัวแทนจาก 6 ภูมิภาคหลัก

4. คณะกรรมาธิการด้านพืช (Plant Committee ) มีหน้าที่คล้ายกับคณะกรรมาธิการด้านสัตว์ แต่เป็นด้านพืช ประกอบด้วยผู้แทนจาก 6 ภูมิภาคหลัก เช่นกัน

5. คณะกรรมาธิการจัดทำคู่มือจำแนกพันธุ์ ( Identification Manual Committee ) มีหน้าที่จัดทำคู่มือจำแนกชนิดพันธุ์สัตว์ป่า พืชป่า สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของประเทศสมาชิกใช้เป็นคู่มือในการออกใบอนุญาต ประกอบด้วยกรรมการอาสาสมัคร

6. คณะกรรมาธิการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ (Nomenciature Committee ) มีหน้าที่พิจารณาชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชป่า สัตว์ป่าใน Appendix I-II-III ประกอบด้วยกรรมการอาสาสมัคร

หน้าที่ของสมาชิก CITES คือ...

1.สมาชิกต้องกำหนดมาตราการในการบังคับใช้อนุสัญญา CITES มิให้มีการค้าสัตว์ป่า พืชป่าที่ผิดระเบียบอนุสัญญาฯ โดยมีมาตรการลงโทษผู้ค้า ผู้ครอบครอง ริบของกลางและส่งของกลางกลับแหล่งกำเนิด กรณีที่ทราบถึงถิ่นกำเนิด

2. ต้องตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า พืชป่าระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า พืชป่า และการขนส่งที่ปลอดภัยตามระเบียบอนุสัญญา CITES

3.ต้องส่งรายงานประจำปี ( Annual Report ) เกี่ยวกับสถิติการค้าสัตว์ป่า พืชป่าของประเทศตนแกสำนักงานเลขาธิการ CITES

4. ต้องจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการ ( Management Authority ) และคณะทำงานฝ่ายวิทยาการ ( Scientific Authority ) ประจำประเทศ เพื่อควบคุมการค้าสัตว์ป่า พืชป่า

5. มีสิทธิ์เสนอขอเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในบัญชี Appendix I-II-III ให้ภาคีพิจารณา

ระบบการควบคุมของ CITES...

การค้าสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศจะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต ( Permit ) ซึ่งหมายถึงว่า สัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุมต้องมีใบอนุญาตในการ

1. นำเข้า ( Import )

2. ส่งออก ( Export )

3. นำผ่าน ( Transit )

4. ส่งกลับออกไป ( Re-export )

สำหรับชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1,2,3 ( Appendix ) ของอนุสัญญาฯ โดยได้กำหนดหลักการไว้ว่า

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1...

เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัยและเพาะพันธุ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกให้ได้ โดยจะต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆด้วย


1. กระทิง

2. กวางผา

3. ปรี

4. ชะนีธรรมดา

5. ชะนีมงกุฎ

6. ชะนีมือดำ

7. ชะมดแปลงลายจุดหรืออีเห็นลายเสือ

8. ช้าง

9. นากใหญ่ธรรมดา

10. เนื้อทราย

11. ปลาวาฬแกลบครีบดำ

12. ปลาวาฬมิงค์

13. ปลาวาฬหัวทุย

14. พะยูนหรือหมูน้ำ

15. แมวดาวหรือแมวแกว

16. แมวป่าหัวแบน

17. แมวลายหินอ่อน

18. แรด

19. กระซู่

20. ละองหรือละมั่ง

21. เลียงผา

22. ปลาโลมาขาวเทา

23. ปลาโลมาขาวทะเลใต้

24. ปลาโลมาหัวบาตรหลังเรียบ

25. สมเสร็จ

26. เสือโคร่ง

27. เสือดาวหรือเสือดำ

28. เสือไฟ

29. เสือลายเมฆ

30. หมีควายหรือหมีดำ

31. หมีหมาหรือหมีคน

32. ไก่ฟ้าหางลายขวาง

33. นกกาฮัง

34. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

35. นกโจรสลัด

36. นกชนหิน

37. นกชาปีไหน

38. นกชายเลนเขียวลายจุด

39. นกแต้วแล้วท้องดำ

40. เป็ดก่า

41. เหยี่ยวเพเรกริน

42. จระเข้น้ำเค็ม

43. จระเข้น้ำจืด

44. ตะกวด

45. ตะโขง

46. เต่ากระอาน

47. เต่ากระ

48. เต่าตนุ

49. เต่าทะเลลอกเกอร์เฮด

50. เต่าหญ้าตาแดงหรือเต่าสังกะสี

51. เต่ามะเฟือง

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 ...

เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์ จึงยังอนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์ โดยประเทศที่จะส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออก แต่ละครั้งจะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆในธรรมชาติ

1. ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง Pteropus lylei

2. ค้างคาวแม่ไก่เกาะ Pteropus hypomelanus

3. ค้างคาวแม่ไก่ฝน Pteropus vampyrus

4. ชะมดแปลงลายแถบ

5. นากใหญ่ขนเรียบ

6. นากใหญ่จมูกขนหรือนากใหญ่หัวปลาดุก

7. นากเล็กเล็บสั้น

8. ปลาโลมาจุก

9. ปลาโลมาหัวขวดมลายู

10. ปลาโลมาหัวขวดธรรมดา

11. ปลาโลมาหัวขวดปากสั้น

12. ปลาโลมาหัวบาตรครีบหลัง

13. ปลาวาฬแกลบครีบขาวดำ

14. ลิงลม

15. ลิงกัง

16. ลิงไอ้เงี้ยะ

17. ลิงเสน

18. ลิงวอก

19. ลิงแสม

20. ค่างดำ

21. ค่างแว่นถิ่นใต้

22. ค่างหงอก

23. ค่างแว่นถิ่นเหนือ

24. กระแตธรรมดา

25. กระแตเล็ก

26. กระแตหางหมู

27. กระแตหางขนนก

28. ลิ่นหรือนิ่มพันธุ์มลายู Manis javanica

29. เสือปลา

30. แมวป่าหรือเสือกระต่าย Felis chaus

31. หมาใน

32. อีเห็นน้ำ

33. อีเห็นลายเสือโคร่งหรืออีเห็นลายพาด

34. นกกก นกกาฮังหรือนกกะวะ

35. นกกระเรียน

36. นกกระสาดำ

37. นกแก้วโม่ง

38. นกแขกเต้า

39. นกแก้วหัวแพร

40. นกกะลิง,นกกะแล

41. นกหกใหญ่

42. นกหกเล็กปากแดง

43. นกหกเล็กปากดำ

44. นกแสก

45. นกแสกแดง

46. นกเค้าเหยี่ยว

47. นกเค้าหน้าผากขาว

48. นกเค้าแดง

49. นกเค้าภูเขา

50. นกเค้าหูยาวเล็ก

51. นกเค้ากู่,นกฮูก

52. นกเค้าแคระ

53. นกเค้าโม่ง,นกเค้าแมว

54. นกเค้าจุด

55. นกเค้าป่าหลังจุด

56. นกเค้าป่าสีน้ำตาล

57. นกเค้าแมวหูสั้น

58. นกเค้าใหญ่พันธุ์เนปาล

59. นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา

60. นกเค้าใหญ่สีคล้ำ

61. นกทึดทือพันธุ์เหนือ

62. นกทึดทือพันธุ์มลายู

63. นกเงือกหัวแรด

64. นกแต้วแล้วลาย

65. นกเป็ดหงส์

66. นกยูง

67. เหยี่ยวออสเปร

68. เหยี่ยวขาว

69. เหยี่ยวดำ

70. เหยี่ยวแดง

71. เหยี่ยวกิ้งก่าสีน้ำตาล

72. เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ

73. เหยี่ยวนกเขาหงอน

74. เหยี่ยวนกเขาหงอน

75. เหยี่ยวนกกระจอกใหญ่

76. เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน

77. เหยี่ยวนกเขาชิเครา

78. เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก

79. เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น

80. เหยี่ยวผึ้ง

81. เหยี่ยวทะเลทราย

82. เหยี่ยวปีกแดง

83. เหยี่ยวหน้าเทา

84. นกอินทรีหัวนวล

85. นกออก

86. เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา

87. เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา

88. เหยี่ยวนิ้วสั้น

89. เหยี่ยวรุ้ง

90. เหยี่ยวภูเขา

91. เหยี่ยวต่างสี

92. เหยี่ยวดำท้องขาว

93. เหยี่ยวหงอนสีน้ำตาลท้องขาว

94. เหยี่ยวท้องแดง

95. นกอินทรีแถบปีกแดง

96. นกอินทรีเล็ก

97. นกอินทรีดำ

98. นกอินทรีปีกลาย

99. นกอินทรีสีน้ำตาล

100. นกอินทรีหัวไหล่ขาว

101. พญาแร้ง

102. อีแร้งดำหิมาลัย

103. อีแร้งสีน้ำตาล

104. อีแร้งเทาหลังขาว

105. เหยี่ยวทุ่ง

106. เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ

107. เหยี่ยวด่างดำขาว

108. เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว

109. เหยี่ยวแมลงปอขาแดง

110. เหยี่ยวแมลงปอขาดำ

111. เหยี่ยวเคสตรัส

112. เหยี่ยวตีนแดง

113. เหยี่ยวฮอบบี้ยุโรป

114. เหยี่ยวค้างคาว

115. นกแว่นสีเทา

116. นกแว่นสีน้ำตาล

117. นกหว้า

118. งูจงอาง

119. งูสิงหางลาย

120. งูเหลือม

121. งูหลาม

122. งูหลามปากเป็ด

123. งูเห่า

124. เหี้ย,เหี้ยดอก,มังกรดอก

125. ตัวเงินตัวทอง,เหาช้าง

126. ตุ๊ดตู่

127. แลนดอน

128. เต่าเหลือง,เต่าเทียม,เต่าขี้ผึ้ง

129. เต่าเสือ,เต่ากระ,เต่าเขาสูง

130. เต่าหก

ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3...

เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว ขอความร่วมมือประเทศภาคีให้ช่วยดูแลการนำเข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด

1. หมาจิ้งจอก Canis aureus

2. หมาไม้ Martes flavigula

3. เพียงพอนเหลือง Mustela sibirica

4. หมีขอหรือบินตุรง Arctictis binturong

5. อีเห็นธรรมดา Paradoxurus hermaphroditus

6. ชะมดแผงสันหางดำ Viverra megaspila

7. ชะมดหางสั้นหางปล้อง Viverra Zibetha

8. ชะมดเช็ด Viverricula indica

9. พังพอนกินปู Herpestes urva

10. ควายบ้าน Bulalus arnee

11. นกกระทาดงอกสีน้ำตาล Arborophila orientalis

12. นกกระทาดงแข้งเขียว Arborophila charltonii

13. ไก่ฟ้าหน้าเขียว Lophura ignita

14. ไก่จุก Rollulus roulroul

15. งูปากกว้างน้ำเค็ม Cerberus rhynchops

16. งูลายสอ Xenochrophis piscator

17. งูแมวเซา Vipera russellii


.........................................................................

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

วัตถุมีพิษ



มาตรา 19 : ห้ามมิให้บุคคลใด เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ลงในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมา หรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ หรือทำให้สัตว์น้ำเกิดมลพิษ เว้นแต่เป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

วัตถุมีพิษ หมายถึง "สารออกฤทธิ์หรือวัตถุที่มีสารออกฤทธิ์ผสมอยู่ด้วย และให้หมายความรวมถึงวัตถุมีพิษธรรมดาและวัตถุมีพิษร้ายแรง" แต่ในมาตรานี้เป็นวัตถุมีพิษตามรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจานุเบกษา

วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 20 มกราคม 2532 มี 12 ชนิด ซึ่งรวมทั้งสารที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นแต่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน โดยกำหนดความเข้มข้น 6 ชนิดและอีก 6 ชนิดกำหนดให้มีไม่ได้เลย ดังนี้

1. DDT อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm.

2. Dieldrim อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm.

3. Aldrin อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm.

4. Heptachor ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm.

5. Heptachor epoxide ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm.

6. Carbofuran ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm.

7. Endrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย

8. Chlorpyrifos กำหนดให้มีไม่ได้เลย

9. Endosulfan กำหนดให้มีไม่ได้เลย

10. Deltamethrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย

11. Sodiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย

12. Potassiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย

ความผิดตามมาตรานี้ ความผิดสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อมีการ เท ทิ้ง ระบายวัตถุมีพิษ หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ได้แก่ คลอง หนองบึง แม่น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุแห่งวัตถุที่ทิ้งนั้นว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ก็ตาม ก็มีความผิดตามมาตรานี้แล้ว

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

องค์การสะพานปลา



ความเป็นมาของหน่วยงาน

ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้


• บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)


• บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)


• การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)


• จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)


• บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)


• บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ)จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง


การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา


ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้


1. การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง องค์การสะพานปลาเป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ให้บริการตลาดสินค้าสัตว์น้ำ โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน


2. การพัฒนาการประมง การพัฒนาการประมงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์การสะพานปลาดำเนินงานเพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย เช่น การทำประมงอวนล้อมจับน้ำลึก และการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า การดำเนินงานโครงการสินเชื่อสำหรับจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำประมง เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ด้อยโอกาสในการดำเนินงานให้สามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น


3. การส่งเสริมการประมงการส่งเสริมการประมง เป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ


4. การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม องค์การสะพานปลาได้ดำเนินการจำหน่ายน้ำมันราคาต่ำกว่าท้องตลาดแก่ชาวประมง โดยดำเนินงานผ่านกลุ่มเกษตรกรทำประมง สหกรณ์ประมง และตัวแทนจำหน่ายน้ำมันในหมู่บ้านชาวประมง ผลการดำเนินงานทำให้ชาวประมงขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับประโยชน์จากการซื้อน้ำมันราคาถูก อันเป็นการลดต้นทุนการทำประมง การจำหน่ายน้ำแข็ง องค์การสะพานปลาได้ทำการผลิตน้ำแข็ง ณ ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราชเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวประมง และผู้ค้าสัตว์น้ำโดยไม่ต้องรอน้ำแข็งจากภายนอกท่าเทียบเรือประมง ซึ่งต้องเสียเวลาในการขนส่ง การจำหน่ายสัตว์น้ำ องค์การสะพานปลาได้เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายสัตว์น้ำในลักษณะตลาดกลางภายในท่าเทียบเรือประมง เป็นการรักษาระดับราคาสัตว์น้ำที่เป็นธรรมแกชาวประมงที่นำสัตว์น้ำมาจำหน่าย เป็นการกระตุ้นการแข่งขันการดำเนินธุรกิจแพปลาหน่วยงานองค์การสะพานปลา


สะพานปลากรุงเทพ
http://document.fishmarket.co.th/site/bangkok.html

สะพานปลาสมุทรปราการ
http://document.fishmarket.co.th/site/pakarn.html

สะพานปลาสมุทรงสาคร

สะพานปลานครศรีธรรมราช

ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน
ท่าเทียบเรือประมงชุมพร

ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี

ท่าเทียบเรือประมงสตูล

ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต

ท่าเทียบเรือประมงระนอง

ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี

ท่าเทียบเรือประมงสงขลา

ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส

ท่าเทียบเรือประมงหลังสวน

ท่าเทียบเรือประมงตราด

ท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

บันไดปลาโจน คือ

บันไดปลาโจน

บันไดปลาที่ถูกสร้างขึ้นมีความต้องการที่จะช่วยให้ปลาและสัตว์น้ำอย่างอื่น สามารถเดินทางผ่านสิ่งกีดขวางทางเดินไปได้ เช่น ในกรณีการสร้างเขื่อนปิดกั้นลำน้ำที่ปลาและสัตว์น้ำมีการเดินทางหรือไม่ก็ กรณีที่ปลาต้องการเดินทางผ่านหน้าผา น้ำตก ให้ขึ้นไปหาที่ผสมพันธุ์หรือวางไข่ได้
ปลาเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ซึ่งคนไทยใช้บริโภคเป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งตลอดมา ธรรมชาติของปลาโดยทั่วไปจะมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่เช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ การอพยพของปลาเกิดจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน เช่น เพื่อหาแหล่งอาหารเพื่อผสมพันธุ์ เพื่อวางไข่ และหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเป็นต้น ดังนั้นในกรณีที่เส้นทางการอพยพ ถูกปิดกั้น เช่น จากการสร้างเขื่อน นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นหาวิธีการที่จะช่วยอนุรักษ์พันธุ์ปลาให้ผ่านสิ่งกีดขวางไปได้ ในบรรดาทางผ่านของปลาที่นิยมก่อสร้างกันมาก คือ บันไดปลา (Fish Ladder หรือ Fish Way) คือ สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ปลาสามารถว่ายน้ำขึ้นล่องผ่านเขื่อน หรือโตรกผาตามธรรมชาติที่กีดขวางทางสัญจรตามชีพจรของปลาได้อันประกอบด้วยสะพานน้ำที่แบ่งเป็นขั้นตอนหรือห้วงน้ำเล็กๆ เรียงติดต่อกันไปตามระดับเชิงลาดจากสันเขื่อนลาดต่ำลงสู่ระดับน้ำด้านท้ายน้ำจากการศึกษาของกรมประมงพบว่า การก่อสร้างเขื่อนชัยนาทมีผลกระทบต่อปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเคยมีความผูกพันธุ์หลากหลายด้วยพันธุ์ปลา กุ้ง และสัตว์น้ำอื่นๆ ในอดีตให้ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำสำหรับในประเทศไทยก็มีบันไดปลาโจนอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ ที่กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์และที่เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี







รูปที่ 1 แสดงน้ำไหลผ่านฝ่ายน้ำลัน



1. การอพยพของปลา (The Migrations of Fishes)
การอพยพเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของปลาเช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ซึ่งหมายถึงการปรับตัวครั้งสำคัญของปลา เพื่อเสาะหา สภาพแวดล้อมอันเหมาะสมกับความต้องการของชีวิตในช่วงนั้นๆ เพื่อเป็นหลักประกันความอยู่รอดทั้งตนเองและของลูกที่เกิดตามมาในอนาคต ดังนั้นการอพยพจึงเปรียบเสมือนสายในที่เชื่อมโยง "ช่วงชีวิต" แต่ละช่วงในชีพจักรของปลา ให้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน


1.1 วงจรของการเดินทางหรืออพยพย้ายถิ่นของปลามักประกอบด้วยวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้
1) การเดินทางเพื่อวางไข่ (Spawning Migration) หมายถึงการเดินทางจากถิ่นเดิมอันเป็นเแหล่งหากินหรือแหล่ง หลบหนาวไปสู่แหล่งวางไข่
2) การเดินทางเพื่อหากิน (Feeding Migration) เป็นการเดินทางจากแหล่งวางไข่หรือแหล่งหลบหนาวไปสู่แหล่งหา กิน
3) การเดินทางเพื่อหลบหนาว (Wintering Migration)
4) เดินทางหลบหนีมลภาวะ เช่น หนีน้ำเสีย หรือหนีน้ำเค็ม


1.2 ลักษณะของการอพยพเดินทาง
สำหรับการอพยพย้ายถิ่น (Migration) ของปลาได้มีการจำแนกตามลักษณะของการอพยพเดินทางไว้ดังนี้
ก. การเดินทางประจำฤดูกาล (Local and Seasonal Move - Ment) หมายถึง การเดินทางเพื่อเปลี่ยนถิ่นเฉพาะในฤดูกาลหนึ่งๆ ซึ่งมีอาณาบริเวณการเดินทางไม่กว้างไกลนัก เช่น เดินทางจากฝั่งด้านตะวันออกของทะเลสาบไปสู่ฝั่งตะวันตกเป็นต้น
ข. การแพร่กระจาย (Dispersal) หมายถึง การเดินทางร่อนเร่ไปโดยไร้จุดหมาย ถึงทางอันแท้จริงโดยอาจจะมีเส้น ทางประจำหรือไม่ก็ได้
ค. การอพยพย้ายถิ่นที่แท้จริง (True Migration) หมายถึง การเดินทางเพื่อหากินและการผสมพันธุ์ โดยมีแหล่งหา กินอยู่ในถิ่นหนึ่ง แต่เมื่อจะผสมพันธุ์จะต้องกลับไปยังถิ่นที่เคยอยู่ อย่างที่เห็นได้ชัดคือ ปลาแซลมอล ปลาเทราท์ การอพยพที่แท้จริงของปลาสามารถแบ่งแยกเป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้
1) Diadromous คือ ปลาที่มีการอพยพเดินทางไปมาระหว่างทะเลกับน่านน้ำจืด แบ่งออกเป็น
- Anadromous คือ ปลาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินอยู่ในทะเลแต่ต้องอพยพเข้าสู่น่านน้ำจืดเพื่อการผสมพันธุ์และการ วางไข่ ปลาประเภทนี้ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาตะลุมพุก (Hilsa loli) และปลาปากกลม
- Catadromous คือ ปลาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินอยู่ในน้ำจืด แล้วอพยพออกสู่ทะเลเพื่อวางไข่ เช่น ปลาไหลทะเล(Anquila anquilla) ในประเทศไทยเราก็มีอยู่ชนิดหนึ่งทางภาคใต้คือ ปลาตูหนา (Anquila australis)
- Amphidromous คือ ปลาที่อพยพไป - มาระหว่างทะเลแลน้ำจืด แต่การอพยพย้ายถิ่นนั้นไม่ใช่เพื่อไปผสมพันธุ์ หรือวางไข่ แต่จะเกิดเฉพาะในส่วนหนึ่งของชีพจรเท่านั้น
2) Potamodromous คือ ปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นจำกัดอยู่เฉพาะในน่านน้ำจืดนั้น
3) Oceanodromous คือ ปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นจำกัดอยู่เฉพาะในทะเลเท่านั้น


1.3 การอพยย้ายถิ่นของปลาในประเทศไทย
การศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากเทียบกับต่างประเทศแล้วนับว่าน้อยมาก สืบเนื่องมาจากการมองข้ามสิ่ง เหล่านี้ไปของนักวิชาการประมง จากบทความของเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ (2521) ได้รายงานว่า ปลาฉนาก (Pristis cupidatus) เป็นปลาทะเลซึ่งพบว่าขึ้นไปถึงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ปลากระเบนน้ำจืด (Dasvabatus bleeken) เป็นปลาทะเลมี ผู้พบบ่อยๆ ตามแม่น้ำที่มีส่วนติดต่อกับทะเล ปลาตะลุมพุก (Hilsa toli) ปลาชนิดนี้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล แต่มักพบ เสมอแถบโรงงานสุราบางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร ปลาโดกหรือปลาตะเพียนน้ำเค็ม (Namatolosa nasus) เป็นปลาทะเลที่ มักอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในแม่น้ำเป็นครั้งคราว ปลาสะพัด (Scleropages Formosus) พบว่าอาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองใน จังหวัดตราด บางครั้งก็พบในทะเล จึงเชื่อว่าเป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นระหว่างน้ำจืดกับทะเลอีกชนิดหนึ่ง ปลาตะพัดเป็นปลาในยุคโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงชนิดเดียวในประเทศไทย สัตว์อื่นๆ นอกจากปลาแล้ว กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergil) มีการอพยพย้ายถิ่นน่านน้ำจืดออกสู่ปากน้ำที่มีน้ำกร่อย เพื่อวางไข่ลูกกุ้งวัยอ่อนจะอาศัยเลี้ยงตัวอยู่ในบริเวณปากน้ำระยะหนึ่งจนกระทั้งเจริญเติบโตถึงระยะหนึ่งแล้วจึงจะเดินทางขึ้นสู่ตอนเหนือของแม่น้ำที่มีน้ำจืดสนิท และเมื่อจะวางไข่ก็จะเดินทางล่วงลงมาสู่บริเวณปากน้ำอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากพฤติกรรมในรูปแบบของการอพยพย้ายถิ่นแล้ว เชื่อว่าปลาในประเทศไทยยังมีการเดินทางภายในน่านน้ำจืดอีกด้วยเช่น การเดินทางจากแม่น้ำหนึ่งไปยังอีกแม่น้ำหนึ่ง หรือจากแม่น้ำเข้าสู่หนองบึง หรือในการกลับกันก็ดี สำหรับผู้มีบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำคงจะเคยได้ยินพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเล่าเรื่องการจับปลาในฤดูน้ำหลาก และน้ำลดอันสนุกสนาน ปลานานาชนิดที่ เดินทางทวนกระแสน้ำขึ้นเหนือนั้น ส่วนมากจะเดินทางออกจากหนองบึงลงสู่แม่น้ำ หรือจากแม่น้ำเข้าสู่หนองบึง ทั้งนี้เพื่อเสาะแสวงหาแหล่งวางไข่อันเหมาะสมหรือตามความต้องการ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามชนิดของปลา ครั้นล่วงมาถึงปลายฤดูหนาวน้ำเริ่มจะลดระดับปลาในหนองบึงต่างๆ จะถอยร่นลงสู่แม่น้ำเป็นฝูงใหญ่ๆ ก่อนที่น้ำในหนองบึงจะลดแห้งขอด พฤติกรรมเช่นนี้ของปลาก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเดินทางได้ทั้งสิ้น

บันไดปลาในประเทศไทย
ปัจจุบัน บันไดปลาในประเทศไทยมีอยู่ 4 แห่ง คือ กว๊านพะเยา หนองหาน บึงบอระเพ็ด และเขื่อนปากมูล การ ก่อสร้างบันไดปลาในประเทศไทยได้มีการถกเถียงกันระหว่างนักวิชาการ 2 กลุ่มแรกคือ พวกที่ต้องการให้สร้างบันไดปลา และไม่ต้องการสร้างเพราะเห็นว่าไม่จำเป็น โดยทั้งสองฝ่ายได้ให้เหตุผลโต้แย้งซึ่งกันและกัน และในที่สุดก็ปรากฎว่ากลุ่มที่ไม่ต้องการสร้างจะเป็นฝ่ายชนะทุกครั้งไป อันที่จริงแล้วปลาและสัตว์น้ำในประเทศไทยนี้ มีการอพยพย้ายถิ่นแต่ระยะการเดินทางไม่ไกลและการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยไม่เห็นเด่นชัดอย่าง เช่น ปลาแซลมอนในต่างประเทศการเดินทางเท่าที่ปรากฎมักจะเดินทางไป - มา ระหว่างลำคลอง หนองบึงต่างๆ ที่ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันได้ เพื่อแสวงหาแหล่งวางไข่อันเหมาะสม และแหล่งหากินอันอุดมสมบูรณ์ กว่าที่มีอยู่เดิมซึ่งที่สุดจะนำมาซึ่งผลผลิตของสัตว์น้ำที่สูงกว่า ที่จะถูกกักไว้ในบริเวณอันจำกัด จุดที่ฝ่ายต้องการให้สร้างจะแพ้อยู่เสมอก็คือ การขาดความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับบันไดปลา และการอพยพย้ายถิ่นของปลาปรากฎว่าความรู้ที่นำมาใช้อ้างอิงมักเป็นความรู้เรียนมาทางทฤษฎีเท่านั้น หาได้มีข้อมูลในทางปฏิบัติอันเกิดจากการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจังไม่ และประกอบกับราคาก่อสร้างบันไดปลาสูงมากย่อมยากแก่การตัดสินใจลงทุน



รูปที่ 2 แสดงน้ำไหลผ่านรูระบาย



2. คุณสมบัติ ส่วนประกอบและการออกแบบบันไดปลา
บันไดปลาเป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อการเดินทางอพยพของปลาผ่านสิ่งกีดขวาง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา บันไดปลาจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบและก่อสร้าง ที่จะต้องสอดคล้องกับอุปนิสัยของปลาที่จะใช้ ส่วนมากแล้วบันไดปลาที่ถูกสร้างจะให้ผลไม่ได้ดี เพราะขาดการศึกษาข้อมูลที่เหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น


2.1 คุณสมบัติเบื้องต้นของบันไดปลา
2.1.1 จะต้องเหมาะสมกับชนิดของปลาที่มีอยู่ในแหล่งน้ำนั้นๆ เพื่อให้ปลาที่มีอยู่ส่วนใหญ่สามารถว่าย
ผ่านเขื่อนหรือสิ่งกีดขวางไปได้โดยสะดวก
2.1.2 ต้องเป็นแบบที่ใช้การได้กับระดับน้ำที่บริเวณเหนือเขื่อนและใต้เขื่อนทุกระดับ ไม่ว่าระดับน้ำจะมี
การเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลมาก - น้อยเพียงไรก็ตาม
2.1.3 ไม่ว่าปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านบันไดปลา จะมากหรือน้อยเท่าใดก็สามารถใช้ได้ผลเสมอ
2.1.4 ต้องเป็นแบบที่สามารถว่ายผ่านได้โดยไม่บาดเจ็บหรือบอบช้ำมากนัก
2.1.5 ปลาสามารถหาทางเข้าบันไดปลาได้โดยง่ายปราศจากอาการรีรอหรือหลงทาง


2.2 ส่วนประกอบที่สำคัญของบันไดปลา
2.2.1 ทางเข้า (Fish Entrance) เป็นส่วนแรกของการเข้าสู่บันได ซึ่งความสูงของน้ำที่ตกลงไม่ควรเกิน 1
ฟุต เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของปลาที่จะเดินทางเข้ามาสู่บันไดแผ่นกั้นช่องทางเข้ามีอยู่ 3 แบบคือ
1) Weirs
2) Orifices และ
3) Slots ดังรูปที่ 1, 2, 3
2.2.2 ทางผ่าน (Fish Passages) เป็นช่องทางผ่านของปลาระหว่างการเดินทาง
2.2.3 ทางออก (Fish Exitts) เป็นส่วนสุดท้ายที่ปลาจะออกจากบันไดไปสู่ด้านเหนือน้ำ ในการออกแบบ
ต้องคำนึงถืง
1) สามารถควบคุมปริมาณการไหลของน้ำในรางบันไดได
้ 2) สามารถควบคุมปริมาณน้ำไหลเข้าสู่บันไดได้ ระหว่างเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทางด้านเหนือน้ำ
3) สามารถป้องกันการติดค้างของพวกเศษขยะ, สวะ ฯลฯ ได้
2.2.4 น้ำล่อปลา (Auxiliary Water Supply) เพื่อความประสงค์ที่จะดึงดูดความสนใจของปลาให้เดินทาง
เข้าสู่บันไดปลา ทั้งนี้น้ำล่อปลาจะต้องไหลเทลงตรงส่วนด้านทางเข้าของบันไดปลาดังรูปที่ 4


2.3 การออกแบบบันไดปลา
การออกแบบบันไดปลานั้น จำเป็นจะต้องมีความรู้หลายด้านด้วยกัน อาทิเช่น การประมง วิศวกรรมและชีววิทยาประกอบกันมีหลักการออกแบบดังนี้
2.3.1 ต้องทราบอุปนิสัยและชีวประวัติบางประการของปลาที่จะใช้บันไดปลา อาทิเช่น ความสามารถใน
การ ว่ายน้ำ ขนาดของตัวปลา ฤดูที่ปลาอพยพเดินทางและชนิดของปลา ซึ่งจะต้องทำการศึกษาให้ละเอียดเพื่อผลทางการออกแบบ บันไดปลา
2.3.2 ขนาด สัดส่วนของบันไดปลา อันได้แก่ ความกว้าง ความลึก และความยาว ซึ่งจะต้องพิจารณาเงื่อน
ไขดังต่อไปนี้
ก) จำนวนของปลาที่คาดหมายไว้ว่าจะให้ผ่านบันไดปลา
ข) ปริมาณน้ำที่ผ่านบันไดปลา


ค) ความสูงทั้งหมดของบันไดปลา


2.3.3 ความลาดเอียงของบันไดปลา (Slope) ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและชนิดของปลา ได้เคยมีการ
ศึกษาความลาดเอียงของบันไดปลาโจน มีตั้งแต่ 1 - 4 ถึง 1 - 30 ในการออกแบบต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่นความสามารถของปลาในการผ่านบันไดปลา การบังคับความเร็วของกระแสน้ำ ความสูงของเขื่อนหรือสิ่งกีดขวางและสถานที่ก่อสร้าง
2.3.4 ชนิดของแผ่นลดความเร็ว เช่น Weirs, Orifices Slots
2.3.5 ความเร็วของกระแสน้ำในบันไดปลา Rousefell (1965) ได้ให้คำแนะนำว่าในการออกแบบ
ความเร็วของกระแส น้ำ จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวควบคุมอยู่คือ
1) ชนิดและขนาดของปลา
2) ความสูงของเขื่อนหรือสิ่งกีดขวาง
3) ระยะทางระหว่างห้วงพักปลาในบันไดปลา
4) ขนาดและแบบของบันไดปลา
2.3.6 แบบทั่วๆ ไปของบันไดปลาที่นิยมคือ
- แบบ Simple Sluice หรือ Inclined Chute เป็นแบบง่ายๆ คล้ายรางระบายน้ำ จะมีอุปกรณ์ลดความเร็วของ กระแสน้ำ หรือห้วงพักเหนื่อยของปลาไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เหมาะสำหรับเขื่อนที่ไม่สูงนักและปลาที่มีขนาดเล็กเท่านั้น
- แบบ Pool Type เป็นแบบที่นิยมใช้กันกว้างขวางกว่าแบบอื่นๆ ประกอบด้วยห้วงพักน้ำเรียงรายติดต่อกัน ที่ก้นราง อาจมีท่อระบายน้ำเล็กๆ เชื่อมต่อระหว่างแต่ละห้วงพักน้ำไว้ด้วยก็ได้ ใช้ได้ผลดีกับปลาที่แข็งแรง ว่องไว
- แบบ Denil Type เป็นแบบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Pool Type แต่มีขนาดเล็กกว่าและการติดตั้งแผงลดความเร็วของน้ำผิดกันคือ แบบนี้ แผงลดความเร็วน้ำจะติดตั้งเอนไปข้างหน้าสู่กระแสน้ำ จะทำให้กระแสน้ำม้วนกลับลงเบื้องล่าง ช่วยลดความเร็วของน้ำในบริเวณนี้ปลาสามารถว่ายผ่านได้สะดวกขึ้น ใช้ได้ผลดีกับปลาแซลมอน
- แบบ Fish Look ประกอบด้วยประตูบังคับน้ำที่ต้องอาศัยเครื่องจักรกลช่วยทุ่นแรงในการปฏิบัติงานเหมาะสำหรับเขื่อน สูงๆ ที่สร้างในเนื้อที่จำกัด
- แบบ Deep Baffle Channel ช่วยให้ปลาสามารถเดินทางผ่านน้ำตกที่สูงชัน และกระแสน้ำไหลเชี่ยวจัดได้


2.3.7 วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติดี ไม่เกิดขอบคม เกิดซอกอับ จะทำให้
ปลาได้รับบาดเจ็บหรือหลงทางและวัสดุประกอบการก่อสร้างควรจะคล้ายคลึงกับสภาพที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เพื่อที่ปลาจะไม่ตกใจจนไม่ผ่านบันไดปลา


สำหรับในประเทศไทยก็มีบันไดปลาโจนอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ ที่กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์และที่เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี













ภาพบันไดปลาโจนของต่างประเทศ


FISH LADDER ON THE MONQUHITTER BURN


Fish ladder and dam across from the SCVWD headquarters




Bonnieville Dam Fish Ladder




Fish ladder at the Halinen rapids upstream Aura river, Turku, Finland


ดูวิดีโอเกี่ยวกับ Fish ladder ได้ที่

http://www.youtube.com/watch?v=jZn3TAj7kbw&feature=related

เขื่อนในประเทศไทย

เขื่อนในประเทศไทย



เขื่อนภาคเหนือ

ชื่อเขื่อน : เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

สถานที่ตั้ง : อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุสูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร จัดเป็น เขื่อนคอนกรีตโค้งที่ใหญ่และสูงที่สุดใน เอเชียอาคเนย์ ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,602 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 8 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 731,200 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,062 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณบ้านยันฮี ตำบลเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ชื่อเดิมเรียกตามสถานที่ว่าเขื่อนยันฮี วางศิลาฤกษ์และเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 เสร็จปี 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด เขื่อนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507 ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อ เขื่อนว่า “เขื่อนภูมิพล”
การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วยงานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคาร โรงไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม และ 15 มิถุนายน 2507 ตามลำดับ ต่อมาได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3-6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ และ เครื่องที่ 7 กำลังผลิต 115,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในวันที่ 11 พฤษภาคม และ 19 สิงหาคม 2512 และ วันที่ 18 ตุลาคม 2525 ตามลำดับ นอกจากนี้ในปี 2534 กฟผ. ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 8 แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต 171,000 กิโลวัตต์ และก่อสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง เพื่อใช้อ่างเก็บน้ำเป็นอ่างล่าง สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มกราคม 2539 ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล มีกำลังผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 731,200 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้า ปีละ 1,062 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง


ประโยชน์ : นอกเหนือจากการผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการของประเทศแล้ว ในด้านการชลประทาน ยังสามารถปล่อย น้ำในอ่างเก็บน้ำ ไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่จังหวัดตาก กำแพงเพชร และพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประมาณ 7.5 ล้านไร่ รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน และอำนวยประโยชน์ ในด้านการประมงอีกด้วย ผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดตาก ภายในบริเวณเขื่อน มีสวน สาธารณะที่มีความร่มรื่น ชื่อ “สวนน้ำพระทัย” และที่เขื่อน แม่ปิงตอนล่างก็มี “สวนเฉลิมพระเกียรติ” ไว้ต้อนรับ นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย ปัจจุบันมีเรือสำราญพานักท่องเที่ยวล่องเรือชมทัศนียภาพเหนือเขื่อนโดยเริ่มจากเขื่อนล่องไปขึ้นที่ดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพาเรือคายัคในอ่างอีกด้วย

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี




ชื่อเขื่อน : เขื่อนสิริกิติ์

สถานที่ตั้ง : อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อ ปี 2506 แล้วเสร็จในปี 2515 ลักษณะของเขื่อนเป็นเขื่อนดิน แกนกลางเป็นดินเหนียว สันเขื่อนสูง 133.60 เมตร ยาว 810 เมตร กว้าง 12 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บ กักน้ำได้ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุของอ่างมากเป็นที่สามรองจากเขื่อนศรีนครินทร์ และ เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,391 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวม 4 เครื่อง กำลังผลิตเครื่องละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 500,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,255 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนสิริกิติ์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ก่อสร้างโดยกรมชลประทานโดยมีวัตถุประสงค์ด้านชลประทานเป็นหลัก ก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ที่ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชื่อ เขื่อนผาซ่อม ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ ปี 2506 แล้วเสร็จในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิริกิติ์ และ โรงไฟฟ้าเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520

ประโยชน์
การชลประทาน
น้ำจากอ่างเก็บน้ำจะถูกปล่อยออกไปยังพื้นที่เพาะปลูกในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน กับพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยา ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ในปริมาณที่ได้มีการตกลงร่วมกันไว้กับกรมชลประทาน

การบรรเทาอุทกภัย อ่างเก็บน้ำจะช่วยเก็บกักน้ำที่อาจจะไหลบ่าลงมา ช่วยลดการเกิดอุทกภัย ในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน ตลอดจนทุ่งเจ้าพระยาลงมาถึงกรุงเทพมหานคร

การผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำที่ปล่อยออกไปเพื่อการชลประทานจะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง ๔ เครื่อง ให้พลังไฟฟ้า ๕๐๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น

การประมง กฟผ. ได้นำพันธุ์ปลาน้ำจืดหลายชนิดปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ กลายเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ ช่วยเสริมรายได้ให้กับราษฎรบริเวณนั้น

การคมนาคมทางน้ำ ช่วยให้การคมนาคมทางน้ำ บริเวณเหนือเขื่อนไปยังจังหวัดน่าน สะดวก และใช้งานได้ตลอดปี

การท่องเที่ยว เขื่อนสิริกิติ์มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาว ความเงียบสงบของ บรรยากาศ เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนไม่ขาดสาย

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี

ชื่อเขื่อน : เขื่อนแม่งัด

สถานที่ตั้ง : อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดินถม สูง 59 เมตร ยาว 1,950 เมตร อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 26.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 332 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 4,500 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 9,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 24.5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดิมชื่อว่า เขื่อนแม่งัด ตัวเขื่อนสร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่บ้านใหม่ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรมชลประทาน การก่อสร้างตัวเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 ต่อมา กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในปี พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2529 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

ประโยชน์
ด้านการชลประทาน สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการได้ประมาณ 30,000 ไร่ และช่วยส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ เพาะปลูกของฝายสินธุกิจปรีชา (ฝายแฝก) จังหวัดเชียงใหม่ โครงการแม่ปิงเก่า จังหวัดลำพูน และพื้น ที่เพาะปลูกโดยฝายของราษฎรอีกด้วย รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 188,000 ไร่

ด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ประมาณ24.50 ล้านกิโลวัตต์

ด้านการประมง เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหาร สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น

การท่องเที่ยว เขื่อนแม่งัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ อ่างน้ำเหนือเขื่อนมีทัศนียภาพที่งดงาม มีแพพัก มีร้านอาหร เหมาะที่ไปท่องเที่ยวพักผ่อน รับประทานอาหารที่แพ และนั่งเรือชมทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี




ชื่อเขื่อน : เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

สถานที่ตั้ง : อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะเขื่อน เป็นเขื่อนดินถมบดอัดแน่น สูง 68 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่กวง นอกจากนั้นยังได้ก่อสร้างเขื่อนดินปิดช่องเขาขาดด้านฝั่งขวาสูง 42 เมตร สันเขื่อนยาว 640 เมตร และ เขื่อนดินปิดช่องเขาขาดด้านฝั่งซ้ายอีกแห่งหนึ่งสูง 54 เมตร สันเขื่อนยาว 655 เมตร สามารถเก็บกักน้ำในอ่างด้านเหนือเขื่อนได้ประมาณ 263 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 186 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก 13 ตำบล ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนประมาณ 175,000 ไร่


เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เกิดจากแผนพัฒนางานชลประทานในลุ่มน้ำแม่กวง ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2472 โดยได้ก่อสร้างฝายผาแตก ขึ้นที่ดอยลอง บ้านผาแตก เมื่อ พ.ศ. 2478 ต่อมากรมชลประทานได้ปรับปรุงฝายใหม่ สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกได้ 72,750 ไร่เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธาราแห่งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทาน ศึกษาการพัฒนาลำน้ำสาขาของลำน้ำแม่กวง และจัดหาที่ดินทำกินใหม่ให้แก่ราษฎร ซึ่งพื้นที่ทำกินดังกล่าวจะถูกน้ำท่วมหลังการก่อสร้างเขื่อนคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมชลประทานเริ่มงานเบื้องต้น เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 กรมชลประทานจึงได้ขอความช่วยเหลือกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการศึกษาโครงการออกแบบและก่อสร้าง และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมชลประทานก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธาราเมื่อ พ.ศ.2529 งานก่อสร้างตัวเขื่อนและอาคารประกอบจึงได้เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2531 และเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการใน พ.ศ. 2536พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ เขื่อนเก็บกักน้ำโครงการชลประทานแม่กวงให้กับกรมชลประทาน ทรงพระราชทานชื่อ ว่า “ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา” เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

ประโยชน์
โครงการชลประทานแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถอำนวยประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

เพื่อการชลประทาน เขื่อนแม่กวงอุดมธารา สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานที่เปิดใหม่ได้ 100.250 ไร่ และยังส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการแม่กวงเดิมอีก จำนวน 74,750 ไร่ รวมพื้นที่ได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น 175,000 ไร่ ในฤดูฝนสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ประมาณ 126,823 ไร่ ส่วนในฤดูแล้งอีกประมาณ 87,500 ไร่

เพื่อบรรเทาอุทกภัย ลำน้ำแม่กวงเป็นลำน้ำสาขาใหญ่สาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง ก่อนการก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธารานั้น ในฤดูฝนจะมีน้ำไหลหลากจากลำน้ำแม่กวง ทำให้อุทกภัยทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหายทุกปี เมื่อมีอ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธาราแล้วสามารถเก็บกักน้ำที่ไหลหลากจากพื้นที่รับน้ำฝนเหนืออ่างเก็บน้ำ จำนวน 567 ตารางกิโลเมตร ไว้เป็นการป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยให้กับบริเวณดังกล่าวได้อย่างดี

เพื่อการประปาและอุปโภค-บริโภค เขื่อนแม่กวงอุดธารา เป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค-บริโภค สามารถส่งน้ำให้แก่การประปาสุขาภิบาล ในเขต อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ปีละ 1,500,000 ลูกบาศก์เมตร และส่งน้ำให้โรงงานอุตสาหกรรมของนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน อีกประมาณ 3,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

เพื่อการประมง อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนแม่กวงอุดมธาราซึ่งมีสภาพเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ใช้เป็นแหล่งเพาะและบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำจึงเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของ จังหวัดชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง โครงการชลประทานแม่กวง ได้ขอพันธุ์ปลาน้ำจืดมาปล่อยในอ่างเก็บน้ำตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ปลาที่นำมาปล่อยนี้นอกจากจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าสำหรับชาวบ้านในท้องถิ่นแล้วยังได้ทำการประมงเป็นอาชีพเสริม

เพื่อการท่องเที่ยว สภาพภูมิประเทศบริเวณอ่างเก็บน้ำสวยงามมาก ด้วยตัวเขื่อนขนาดใหญ่ที่ปิดกั้นหุบเขาสูงมีอ่างเก็บน้ำเสมือนทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่โอบล้อมด้วยทิวเขาและป่าเขียวขจี ในยามเช้าจะมีเมฆหมอกสีขาวคล้ายปุยฝ้ายลอยตัวปกคลุมทั่วท้องน้ำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของคนในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



ชื่อเขื่อน : เขื่อนกิ่วลม

สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ลักษณะเขื่อน :เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ Gravity Dam ตัวเขื่อนสูง 26.50 เมตร สันเขื่อนยาว 5,035 เมตร กว้าง 135 เมตร เก็บกักน้ำได้ 112ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 578 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนกิ่วลม เป็นเขื่อนเอนกประสงค์เพื่อการชลประทาน สร้างกั้นแม่น้ำวัง ที่ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2511 ตัวเขื่อนสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2515 งานระบบส่งน้ำเสร็จพ.ศ. 2524 เป็นเขื่อนที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน ใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่วังกิ่วลม ในฤดูในได้พื้นที่ประมาณ 55,000 ไร่ นอกจากนี้ยังใช้น้ำเพื่อการประปาและช่วยบรรเทาอุทกภัย ในเขตจังหวัดลำปาง

ประโยชน์
ด้านการชลประทาน
ใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่วังกิ่วลม ในฤดูในได้พื้นที่ประมาณ 55,000 ไร่ นอกจากนี้ยังใช้น้ำเพื่อการประปาและช่วยบรรเทาอุทกภัย ในเขตจังหวัดลำปาง

การชลประทาน สามารถส่งน้ำที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำไปใช้ในระบบชลประทาน ได้เป็นพื้นที่ ๕๕,๐๐๐ ไร่

บรรเทาอุทกภัย ช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดลำปางจากปริมาณเอ่อล้นแม่น้ำวังในช่วงฤดูน้ำหลากได้เป็นอย่างดี

การประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลมเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ทำให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น

การประปา น้ำในเขื่อนกิ่วลมเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับทำน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภคในเขตลำปาง

การท่องเที่ยว เขื่อนกิ่วลมเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง อ่างน้ำเหนือเขื่อนมีทัศนียภาพที่งดงาม มีแพพัก มีแพร้านอาหาร มีกิจกรรมล่องเรือชมวิว เล่นวินเสริฟ บานาน่าโบ๊ท เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี

เขื่อนภาคกลาง




ชื่อเขื่อน : เขื่อนแก่งกระจาน

สถานที่ตั้ง : อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดิน สูง 58 เมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร นอกจากนี้ ยังมีเขื่อนดินปิดเขาต่ำทางขวางเขื่อนอีก 2 แห่ง คือ แห่งแรกสูง 36 เมตร สันเขื่อนยาว 305 เมตร แห่งที่ 2 สูง 24 เมตร สันเขื่อนยาว 255 เมตร เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น มีความจุ 710 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 46.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,325 ไร่ มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 929 ล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณปล่อยน้ำได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ในด้านการชลประทานบริเวณที่ราบ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เขื่อนแก่งกระจานสร้างกั้นแม่น้ำเพชร ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวก กับตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำของเขื่อนเพชรขึ้นไป 27 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2504 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2509 ต่อมา เมื่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนแก่งกระจานขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2514 แล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าไดั เมื่อเดือนสิงหาคม 2517 น้ำที่ถูกปล่อยเพื่อการชลประทานได้ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ประโยชน์
ด้านการชลประทาน สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่ และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย ในทุ่งเพชรบุรีด้วย

ด้านการประมง เขื่อนแก่งกระจานเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหารจากสัตว์น้ำ สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น

ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนแก่งกระจานเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวเขื่อนแก่งกระจานเป็นจำนวนมาก กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจคือการล่องเรือชมวิวบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ไปกางเต็นท์พักแรมบนเกาะต่างๆ ไปตกปลา และไปพักแรมบริเวณริมเขื่อน

ด้านพลังงาน เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง


มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี






ชือเขื่อน : เขื่อนปราณบุรี

สถานที่ตั้ง : อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดินสร้างปิดกั้นแม่น้ำปราณบุรี ระหว่างเขาตกน้ำกับเขาเตย ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สันเขื่อนยาว 1,500 เมตร ระดับสันเขื่อน 45 เมตร เก็บกักน้ำได้ 445 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 436 ล้านลูกบาศก์เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2510 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2521 สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางด้านการชลประทาน

ประโยชน์
ใช้ประโยชน์เพื่อ การเพาะปลูกในเขตท้องที่อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี และอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในฤดูฝนได้ประมาณ 220,000 ไร่ และในฤดูแล้งได้ประมาณ 140,000 ไร่ และช่วยบรรเทาอุกทกภัยจาก แม่น้ำปราณบุรี บริเวณพื้นที่ในเขตโครงการฯ

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี




ชื่อเขื่อน : เขื่อนศรีนครินทร์

สถานที่ตั้ง : อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุด และมีความจุมากที่สุดในประเทศไทย มีความสูงจากฐานราก 140 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร กว้าง 15 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 419 ตารางกิโลเมตร มีความจุมากเป็นอันดับหนึ่งคือ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 5 เครื่อง เครื่องที่ 1-3 กำลังผลิต เครื่องละ 120,000 กิโลวัตต์ เครื่องที่ 4-5 เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบสูบกลับ กำลังผลิต เครื่องละ 180,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 720,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 1,250 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควใหญ่ บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2516 สร้างเสร็จในปี 2523 แต่เดิมมีชื่อว่าเขื่อนเจ้าเณรโดยเรียกตามสถานที่ หลังจากสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีนครินทร์ มาขนานนามเขื่อน และเสด็จ พระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2524

ประโยชน์
ด้านพลังงาน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 1,250 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง


ด้านการชลประทาน ช่วยส่งเสริมระบบชลประทาน โครงการแม่กลองใหญ่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมี เขื่อนแม่กลองของกรมชลประทานเป็นหัวงานทดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรได้ตลอดปีเป็นเนื้อที่ถึง 4,118 ล้านไร่

บรรเทาอุทกภัย สามารถกักเก็บน้ำที่หลากมาในช่วงฤดูฝนไว้ในอ่างเก็บน้ำ ได้เป็นจำนวนมาก ช่วย บรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำแม่กลองให้ลดน้อยลง

ผลักดันน้ำเค็ม สามารถปล่อยน้ำลงผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนล้ำเข้ามาทำความเสียหายแก่พื้นที่บริเวณ ปากน้ำแม่กลองในช่วงฤดูแล้ง

ด้านการประมง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรอีกทางหนึ่งด้วย

ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนศรีนครินท์นับเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ในจังหวัด กาญจนบุรี มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมปีละกว่าแสนคน ก่อให้เกิด การขยายตัวทางการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง เช่น แพท่องเที่ยวในอ่างเก็บน้ำ


มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



ชื่อเขื่อน : เขื่อนวชิราลงกรณ์

สถานที่ตั้ง : อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะเขื่อน : เขื่อนวชิราลงกรณเป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย เททับหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เขื่อนสูงจากฐาน 92 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ยาว 1,019 เมตร มีความจุ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร บริเวณปล่อยน้ำได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 100,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนวชิราลงกรณ์ เป็นเขื่อนเอนกประสงค์โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอท้องผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่รับน้ำฝน 3,720 ตารางกิโลเมตร

เริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม 2522 เสร็จในปี 2527 แต่เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม หลังสร้างเสร็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนวชิราลงกรณ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2529 และพระราชทานชื่อใหม่ว่า เขื่อนวชิราลงกรณ

ประโยชน์
ด้านพลังงาน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

บรรเทาอุทกภัย โดยปกติน้ำในฤดูฝน ทั้งในลำน้ำแควน้อย และแควใหญ่จะมีปริมาณมาก เมื่อไหลมารวมกันจะทำให้เกิดน้ำท่วม ลุ่มแม่น้ำแม่กลองเป็นประจำ หลังจากได้ก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณแล้วเสร็จ อ่างเก็บน้ำของเขื่อนทั้งสองจะช่วยเก็บกักไว้ เป็นการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวอย่างถาวร

ด้านการชลประทานและการเกษตร ทำให้มีแหล่งน้ำถาวรเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เพื่อช่วยเสริมระบบชลประทาน ในพื้นที่ของโครงการแม่กลองใหญ่ โดยเฉพาะทำการเพาะปลูกในฤดูแล้ง จะได้ผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้น

ด้านการประมง อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเหมาะสำหรับเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย
รักษาคุณภาพน้ำแม่กลอง ต้านน้ำเค็มและน้ำเสียในฤดูแล้ง รวมทั้งยังมีน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมของสองฝั่งแม่กลองอีกส่วนหนึ่ง และจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพิ่มขึ้นในฤดูแล้งจะช่วยขับไล่น้ำเสียและผลักดันน้ำเค็มทำให้สภาพน้ำในแม่น้ำแม่กลองมีคุณภาพดีขึ้น

ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนวชิราลงกรณยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชมกันเป็นจำนวนมาก


มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี







ชื่อเขื่อน : เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

สถานที่ตั้ง : อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ความเป็นมา
ความเป็นมา แม่น้ำป่าสักมีความยาวถึง 513 กิโลเมตร เกิดจากน้ำในลุ่มน้ำขนาดใหญ่มีพื้นที่รับน้ำเป็นบริเวณกว้างถึง 14,520 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำเฉลี่ยประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี จุดกำเหนิดอยู่บริเวณจังหวัดเลย ไหลผ่านเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี แล้วไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในฤดูฝนจะมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักตอนล่าง ในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี อยุธยา กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล น้ำท่วมแต่ละครั้งกินเวลานานเป็นเดือนหรือสองเดือน ในแต่ละปีสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก แต่ในฤดูแล้งแม่น้ำป่าสักกลับมีปัญหาน้ำแล้งขอดมีปัญหาเกี่ยวกับภัยแล้ง ขาดน้ำกินน้ำใช้และน้ำเพื่อทำการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยประชาราษฎรจึง ได้พระราชทานพระราชดำริกับกรมชลเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสักอย่างเร่งด่วน 4 ปีผ่านไปยังไม่มีอะไรคืบหน้า ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนพรรษาว่าควรจะรีบเร่งดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำให้กับประชาชน คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เริ่มก่อสร้าง 2 ธันวาคม 2537 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 หลังจากเขื่อนสร้างเสร็จในปี 2542 ได้สร้างประโยชน์อย่างมหาศาล เกษตรกรมีน้ำใช้ทำการเกษตรในฤดูแล้ง น้ำไม่ท่วมในฤดูฝน ในทุกวันหยุดมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านมีแหล่งทำประมงน้ำจืด นับว่าเขื่อนป่าสักได้สร้างประโยชน์อย่างมากมาย อีกทั้งยังไม่สูญเสียพื้นที่ป่าเพื่อทำเขื่อนอีกด้วยทั้งนี้เพราะว่าเขื่อนสร้างอยู่กลางที่ราบลุ่ม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามเขื่อนนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดิน สร้างปิดกั้นแม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี สูง 31.50 เมตร สันเขื่อนยาว 4,860 เมตร เก็บกักน้ำได้สูงสุด 960 ล้านลูกบาศก์เมตร เริ่มก่อสร้าง 2 ธันวาคม 2537 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 2,200 ล้านลูกบาศก์เมตร


ประโยชน์
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้ง และแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของคนในลุ่มน้ำป่าสักตอนล่าง เมื่อสร้างแล้วได้ก่อประโยชน์ดังนี้


ป้องกันปัญหาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสักตอนล่าง ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี และพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล

เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี กว่า 144,500 ไร่

เป็นแหล่งน้ำเพื่อ อุปโภค ของชุมชนในเขตจังหวัด ลพบุรี - สระบุรี

เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่

เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กันเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดรายได้กับคนในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก


มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี




ชื่อเขื่อน : เขื่อนทับเสลา

สถานที่ตั้ง : อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

ลักษณะเขื่อน: เป็นเขื่อนดินบดอัดแน่น สูง 26.80 เมตร สันเขื่อนยาว 3,375 เมตร กว้าง 8 เมตร กักเก็บน้ำได้ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 534 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 124 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนทับเสลา เป็นเขื่อนอเนกประสงค์เพื่อการชลประทานเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ สร้างปิดกั้นลำห้วยทับเสลาที่บ้านระบำ ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเรียกภาษาท้องถิ่นตามสถานที่สร้างว่า เขื่อนระบำ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2528 แล้ว เสร็จ พ.ศ. 2531สามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนได้ประมาณ 143,500 ไร่ และในฤดูแล้งได้ประมาณ 26,250 ไร่ และยังช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำทับเสลาและจังหวัดอุทัยธานี เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีภูมิประเทศสวยงาม มีทิวเขาที่ลดหลั่นโอบล้อมด้วยตัวอ่างเก็บน้ำเป็นแนวยาว จากสันเขื่อนสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่งดงาม ในยามเย็นจะเห็นภาพพระอาทิตย์ตกน้ำที่สวยงามมาก ในอ่างเก็บน้ำมีเกาะแก่งน้อยใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปท่องเที่ยวพักผ่อนเล่นน้ำตามเกาะต่างๆ ได้โดยการใช้บริการเรือหางยาวของชาวประมงท้องถิ่น

ประโยชน์
ด้านการชลประทาน เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ช่วยให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในฤดูฝน น้ำจากเขื่อนสามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนได้ประมาณ 143,500 ไร่ และในฤดูแล้งได้ประมาณ 26,250 ไร่ และยังช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำทับเสลาและจังหวัดอุทัยธานี

ด้านการประมง เขื่อนทับเสลาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ของจังหวัดอุทัยธานี เป็นแหล่งผลิตปลาน้ำจืด สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น ยามเช้าที่หมู่บ้านริมเขื่อนจะมีปลาน้ำจืดมาขายเป็นจำนวนมาก บางร้านก็เก็บปลาเข้าตู้แช่ไว้เพื่อรอการขาย ในแต่ละปีเขื่อนทับเสลาผลิตอาหารให้คนในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก

ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนทัลเสลามีทัศนียภาพที่งดงาม วิวผืนน้ำที่กว้างใหญ่โอบล้อมด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่งดงาม ในอ่างเก็บน้ำก็เหมาะที่จะนั่งเรือหางยาวชมวิวและขึ้นไปเที่ยวพักผ่อนเล่นน้ำตามเกาะแก่งต่างๆ อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ที่นิยมการตกปลาเป็นอย่าง

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



ชื่อเขื่อน : เขื่อนลำตะคอง

สถานที่ตั้ง : อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดิน สูง 40.30 เมตร ยาว 521 เมตร กว้าง 10 เมตร เก็บกักน้ำได้ 314 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 270 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนลำตะคอง เป็นเขื่อนเอนกประสงค์เพื่อการชลประทาน สร้างกันลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นกับช่องเขาถ่านเสียด ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2507 สร้างเสร็จ พ.ศ. 2512 เขื่อนลำตะคอง สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานจำนวน 127,540ไร่ในฤดูฝน และ 50,000 ไร่ ในฤดูแล้ง รวมทั้งใช้เพื่อการประปาในเขตอำเภอสีคิ้ว อำเภอโนนสูง อำเภอขามทะเลสอ และเขตเทศบาลนครราชสีมาเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม และยังช่วยบรรเทาอุกทกภัยในลุ่มน้ำลำตะคอง ลุ่มน้ำมูลให้ลดน้อยลง

ประโยชน์
ด้านการชลประทาน
ส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานจำนวน 127,540ไร่ในฤดูฝน และ 50,000 ไร่ ในฤดูแล้ง

ด้านการประมง เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหารจากสัตว์น้ำ สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น

ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนลำตะคองมีทัศนียภาพที่สวยงาม บริเวณสันเขื่อนริมถนนมิตรภาพมีร้านอาหารของคนท้องถิ่นไว้บริการ และบริเวณนี้ยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม

ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภค น้ำจากเขื่อนใช้เพื่อผลิตน้ำประปาในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี



เขื่อนภาคตะวันออก




ชื่อเขื่อน : เขื่อนหนองปลาไหล จังหวัดระยอง

สถานที่ตั้ง : ตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

ลักษณะเขื่อน : เขื่อนดิน สูง ๒๔ เมตร มีความยาวตาม สันเขื่อน ๔,๐๖๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๘ เมตร ฐานกว้าง ๑๓๒.๘๐ เมตร ความจุของอ่างเก็บน้ำสูงสุด ๒๐๕.๘๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุดกักเก็บปกติ ๑๖๔ ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ ๑๒๗ ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนหนองปลาไหล เป็นเขื่อนเพื่อการชลประทานในโครงการชลประทานระยอง แต่เดิมจังหวัดระยองมีแหล่งน้ำหลักๆ คืออ่างเก็บน้ำดอกกราย ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอจึงต้องสร้างอ่างเก็บน้ำซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งอยู่ห่างจากอ่างเก็บน้ำเดิมไป ๕ กิโลเมตรมีชื่อว่าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยสร้างกั้นลำห้วยคลองใหญ่หนึ่งในลำห้วยสาขาทางตอนเหนือของแม่น้ำระยอง ตัวอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ ๒๒.๘๙ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่รับน้ำฝน ๔๐๘ ตารางกิโลเมตร น้ำทั้งหมดที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำคือน้ำฝนในพื้นที่รับน้ำ เหนืออ่างเก็บน้ำเป็นพื้นที่ราบไม่มีภูเขาไม่มีป่าไม้ ดั้งนั้นปริมาณน้ำในอ่างจึงฝากความหวังไว้กับปริมาณน้ำฝนเพียงอย่างเดียว น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนหนองปลาไหลถูกปล่อยลงสู่คลองชลประทานซึ่งไหลผ่านอำเภอบ้านค่ายผ่านพื้นที่ทำการเกษตรในเขตจังหวัดระยอง ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทานจำนวน ๓๐,๐๐๐ ไร่ นอกจากนี้น้ำอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลยังใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของคนระยอง น้ำส่วนหนึ่งยังใช้เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปาในจังหวัดระยอง โดยการประปาระยอง การประปาบ้านฉาง และยังใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองเพื่อการประปาของเมืองพัทยาอีกด้วย

นับตั้งแต่รัฐบาลประกาศนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๕ ระยองได้กลายเป็นเมืองอุตสหากรรมหนัก มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกิดขึ้นมากมายทั้งนิคมอุตสาหกรรมของภาครัฐและเอกชน แต่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีแหล่งน้ำเพื่อการอุตสหากรรมซึ่งจะต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก ดั้งนั้นจึงเกิดการแย่งน้ำระหว่างภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชนที่ต้องใช้แหล่งน้ำแห่งนี้ผลิตเป็นน้ำประปาหล่อเลี้ยงคนในจังหวัดระยอง ตามลำพังน้ำใช้ในภาคการเกษตรและภาคประชาชนก็ไม่ค่อยจะเพียงพออยู่แล้ว โดยทุกปีในช่วงฤดูแล้งจะเกิดปัญหาน้ำหมดอ่าง ประชาชนในเขตระยองจำนวนมากต้องสั่งซื้อน้ำจากรถน้ำเพื่อใช้สอย และเพื่อใช้รดน้ำในสวนทุเรียนซึ่งเป็นพืชที่ต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดปัญหาการแย่งน้ำจากภาคอุตสาหกรรมจึงทำให้ยิ่งเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำยิ่งรุนแรงขึ้น ภาคการเกษตรถึงแม้จะไม่สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับประเทศแต่ก็เป็นอาชีพของคนท้องถิ่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่และเป็นเจ้าของพื้นที่ พื้นที่สร้างอ่างเก็บน้ำจำนวนพื้นที่มหาศาลถูกเวนคืนมาจากประชาชนเจ้าของพื้นที่เพื่อสร้างแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน แต่วันนี้ ( ๒๐ ส.ค. ๒๕๔๘ กลางฤดูฝน ) ประชาชนในพื้นที่ชลประทานที่มีคลองชลประทานผ่านกลับไม่มีน้ำเพราะต้องกันน้ำไว้เพื่อส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรถูกใช้เป็นแหล่งน้ำดิบราคาถูกป้อนให้กับผู้ผลิตน้ำเพื่อป้อนให้กลับโรงงานอุตสาหกรรมสร้างผลกำไรจำนวนมหาศาล จึงถึงวันนี้ ๒๐ ส.ค. ๒๕๔๘ น้ำหมดอ่าง ปริมาณกักเก็บต่ำสุด ๑๓.๑๖ ล้านลูกบาศก์เมตรซึ่งจะต้องกันไว้เพื่อหล่อเลี้ยงอ่างเก็บน้าเพื่อไม่ให้อ่างแตกกลับถูกบริษัทผู้ผลิตน้ำดูดขึ้นมาใช้จนเหลือเพียง ๙.๘๘ ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าหากยังไม่มีฝนตกเพิ่มจะทำให้เหลือน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปาได้เพียง ๒๐ วันเท่านั้น นี่ขนาดว่าอยู่ในช่วงกลางฤดูฝนยังมีปัญหาถึงเพียงนี้ หากพ้นฤดูฝนต้องผ่านฤดูแล้งยิ่งจะทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำสาหัสยิ่งนักยากที่จะแก้ไข

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี


เขื่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อเขื่อน : เขื่อนอุบลรัตน์

สถานที่ตั้ง : อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความยาว ๘๘๕ เมตร สูง ๓๕.๑ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๖ เมตร ฐานเขื่อนกว้าง ๑๒๕ เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ ๒,๒๖๓ ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 2,271 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ๓ เครื่อง ขนาดกำลังผลิต ๘,๔๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๒๕,๒๐๐ กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ ๕๕ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนพลังน้ำ แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นแห่งที่สอง ของประเทศไทยต่อมาจาก เขื่อนภูมิพล สร้างปิดกั้นแม่น้ำพองที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น แต่เดิมมีชื่อ เขื่อนพองหนีบ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๐๗ สร้างเสร็จในปี ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราช ดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๙ และได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า เขื่อนอุบลรัตน์

แต่เดิมเขื่อนสูง ๓๒ เมตร ต่อมาในปี ๒๕๒๗ ได้ทำการปรับปรุงเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเขื่อนในการบรรเทาอุทกภัยให้สูงขึ้น และเป็นการเสริมความปลอดภัยให้แก่ตัวเขื่อนโดยการเสริมสันเขื่อนให้สูงขึ้นอีก ๓.๑ เมตร ส่วนฐานเขื่อนด้านท้ายขยายจากเดิมซึ่งกว้าง ๑๒๐ เมตร เป็น ๑๒๕ เมตร ปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อต้นปี ๒๕๓๐

ประโยชน์
เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่เอื้ออำนวยประโยขน์ต่อประชาชนในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านผลิตไฟฟ้า สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ๕๕ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ด้านชลประทานและการเกษตร น้ำที่ปล่อยผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้วจะถูกส่งเข้าสู่ระบบชลประทาน ให้แก่พื้นที่เกษตรกรรมที่จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ช่วยให้ทำการ เพาะปลูกได้ปีละ ๒ ครั้ง และ สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้ด้วย

ด้านการประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นแหล่งประมงขนาดใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของ ประเทศ ทำรายได้ ปีหนึ่งๆ ให้แก่ประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นจำนวนมาก ช่วยยกระดับมาตรฐาน การครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น

ด้านการบรรเทาอุทกภัย ภายหลังการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์สามารถบรรเทาภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้น อย่าง กระทันหันในฤดูฝน บริเวณแนวฝั่ง ลำน้ำพองถึงแม่น้ำชีให้ลดน้อยลง

ด้านคมนาคม อ่างเก็บน้ำของเขื่อนใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ ประชาชนใช้เป็น เส้นทางสัญจร ไปมาหาสู่กันอย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนทั่วไป

การเที่ยวที่เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนอุบลรัตนมีสถานที่น่าไปเที่ยวอยู่ 2 ที่ จุดแรกคือบริเวณสันเขื่อน ซึ่งจะต้องเข้าไปในพื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จุดที่น่าสนใจคือ ชมวิวสันเขื่อน และชมวิวอ่างเก็บน้ำ สำหรับร้านอาหารริมเขื่อนจะเป็นร้านสโมสรของการไฟฟ้าออกแนวหรูๆ อยู่ในตู้กระจก สำหรับจุดชมวิวด้านล่างก็จะมีป้ายเตือนว่า " อย่าเช่าเรือ หรือขึ้นเรือเช่าออกไปเที่ยวในอ่างเพราะอาจจะได้รับอันตรายถึงชีวิต " ลงเล่นน้ำไม่ได้เพราะไม่มีหาด ดังนั้นการเที่ยวที่จุดนี้คือการขับรถเข้ามาจอดชมวิวดังที่เห็นในภาพ ไม่มีการกระจายรายได้สู่คนในท้องถิ่นเท่าที่ควร และกิจกรรมท่องเที่ยวก็ไม่มีอะไรนอกจากไปชมวิว แล้วก็เข้าร้านอาหาร

จุดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเขื่อนอุบลรัตน์คือ ชายหาดบางแสน 2 ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเขื่อน ลักษณะมีหาดทรายยาว มีร้านอาหารชาวบ้าน และมีหาดให้ลงเล่นน้ำ จุดนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้ๆ เคียง ในช่วงฤดูร้อนจะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยว

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี




ชื่อเขื่อน : เขื่อนจุฬาภรณ์

สถานที่ตั้ง : อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

ลักษณะเขื่อน : เป็นแบบหินถม แกนกลางเป็นดินเหนียวบดอัดทับแน่นด้วยกรวดและหิน มีความยาวตาม สันเขื่อน ๗๐๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๘ เมตร ฐานกว้าง ๒๕๐ เมตร ความสูงจากฐานราก ๗๐ เมตร ความจุของอ่างเก็บน้ำ ๑๘๘ ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ ๑๖๕ ล้านลูกบาศก์เมตร
โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ตรงเชิงเขาใกล้กับลำน้ำสุ ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของตัวเขื่อน แล้วชักน้ำหน้าเขื่อน จากฝั่งซ้ายของ ลำน้ำ โดยผ่านอุโมงค์ซึ่งเจาะทะลุภูเขา ไปหมุนเครื่องกังหันน้ำซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาอีกด้านหนึ่ง ภายในโรงไฟฟ้าติดตั้ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด ๒๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๒ ชุด

เขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นเขื่อนเอนกประสงค์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย บริเวณที่เรียกว่าภูหยวก ในท้องที่ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นเขื่อนในโครงการน้ำพรม ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๒ ตัวเขื่อนสร้างเสร็จในเดือนมกราคม ๒๕๑๓ โรงไฟฟ้าสร้างเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมรากุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วลัยลักษณ์ ไปทรงเปิด เขื่อนและโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๑๖ พร้อมทั้งได้พระราชทาน พระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ มาขนานนามชื่อเขื่อนว่า "เขื่อนจุฬาภรณ์"

ต่อมาในปี ๒๕๓๕ กฟผ. ได้สร้างเขื่อนขนาดเล็กขื่อ “เขื่อนพรมธารา” ขึ้นทางฝั่งซ้ายของเขื่อน จุฬาภรณ์ ห่างออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตรเพื่อนำน้ำมาลงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ได้เพิ่มขึ้น ปีละประมาณ ๒ ล้าน ลูกบาศก์เมตร

ประโยชน์
เขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นเขื่อนที่ความสำคัญมากอีกเขื่อนหนึ่ง ต่อการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังน้ำเฉลี่ยปีละ ๙๕ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่ง สามารถตอบสนองความต้องการของ ประชาชนได้อย่างเพียงพออีกทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัย ในบริเวณ ทุ่งเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งอยู่ห่างจากเขื่อนลงไปทางท้ายน้ำ ประมาณ ๖๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ อ่างเก็บน้ำยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งบริเวณที่ตั้ง ของเขื่อนมีทิวทัศน์สวยงามมากและอากาศเย็นสบายตลอดปี จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แห่งหนึ่ง ในภูมิภาคนี้

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี

ชื่อเขื่อน : เขื่อนน้ำอูน

สถานที่ตั้ง : อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดิน สูง 30 เมตร ยาว 3,300 สันเขื่อนกว้าง 8.00 เมตร เก็บกักน้ำได้ 520 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 443 ล้านลูกบาศก์เมตร

ประโยชน์
เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานในเขตจังหวัดสกลนคร ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 185800 ไร่

เป็นแหล่งน้ำเพื่อ อุปโภค ของชุมชนในเขตจังหวัดสกลนคร

เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่

เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในอ่างเก็บน้ำมีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นสถานที่พักผ่อนย่อนใจประชาชนในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี

ชื่อเขื่อน : เขื่อนห้วยหลวง

สถานที่ตั้ง : อ. กุดจับ จ. อุดรธานี

ลักษณะเขื่อน: เป็นเขื่อนดิน สูง 12.50 เมตร สันเขื่อน ยาว 4.9 กิโเมตร เก็บน้ำได้ 113 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 161 ล้านลูกบาศก์เมตร

เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2513 ตัวเขื่อนสร้างเสร็จ พ.ศ. 2522 งานระบบส่งน้ำเสร็จ พ.ศ. 2527 วัตถุประสงค์สร้างเพื่อการชลประทาน สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานจำนวน 94,830 ไร่ในฤดูฝน และ 30,000 ไร่ ในฤดูแล้ง และยังเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับใช้ผลิตน้ำประปาในจังหวัดอุดรธานี การประปาอำเภอหนองวัวซอ และการประปาอำเภอกุดจับ

ประโยชน์
เป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อชลประทาน

เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ผลิตน้ำประปา

เป็นแหล่งประมงน้ำจืด เป็นแหล่งอาหาร สร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่น

ช่วยบรรเทาอุทักภัยในฤดูน้ำหลากไม่ให้น้ำไหลท่วมตัวเมืองอุดร ตัวเมืองอุดรเป็นแอ่งที่ราบท้องกะทะ เมื่อฝนตกต่อเนื่องหากน้ำไหลท่วมตัวเมืองจะสร้างความเสียหายมหาศาลอย่างที่เคยเกิด เขื่อนห้วยหลวงช่วยป้องกันและบรรเทาอุทกภัยได้อย่างมาก

การท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนห้วยหลวง ทัศนียภาพเมื่อมองจากสันเขื่อนจะเป็นแอ่งน้ำที่กว้างใหญ่ บนสันเขื่อนเป็นถนนสำหรับสัญจรผ่านไปมา นักท่องเที่ยวสามารถขับรถไปจอดชมวิวบนสันเขื่อนได้ บริเวณด้านซ้ายของเขื่อนมีสวนพักผ่อนที่ร่มรื่น มีศาลาชมวิว มีห้องน้ำที่สะดวกสบายไว้บริการให้แก่นักท่องเที่ยว ตรงข้ามกับสวนพักผ่อนเป็นร้านอาหารชื่อว่าร้าน "ชาวเขื่อนห้วยหลวง" ให้บริการอาหารกับผู้ที่เข้ามาพักผ่อน ชมวิวบริเวณเขื่อน นั่งรับประทานอาหารประเภทปลาน้ำจืดรสเด็ด

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี

ชื่อเขื่อน : เขื่อนสิรินธร

สถานที่ตั้ง : อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว ตัวเขื่อนมีความสูง ๔๒ เมตร ยาว ๙๔๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๗.๕ เมตร อ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๘ ตารางกิโลเมตรสามารถกักเก็บน้ำได้ ๑,๙๖๖.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ ๑,๙๖๖ ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิไฟฟ้าจำนวน ๓ เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ ๑๒,๐๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๓๖,๐๐๐ กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อยอันเป็นสาขา ของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน ๒๕๑๑ และมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนาม เขื่อนว่า “เขื่อนสิรินธร” สร้างเสร็จในปี ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด เขื่อนสิรินธรเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

ประโยชน์
เขื่อนสิรินธร เป็นโครงการอเนกประสงค์จึงสามารถอำนวยประโยชน์อย่างกว้างขวางในการพัฒนา ประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้

การผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถใช้พลังน้ำมาผลิตพลังงานได้เฉลี่ยปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ขยาย ขอบเขตการจ่ายกระแสไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกไปได้กว้างขวางขึ้น

การชลประทาน สามารถส่งน้ำที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำไปใช้ในระบบชลประทาน ได้เป็นพื้นที่ ๑๕๒,๐๐๐ ไร่

บรรเทาอุทกภัย เขื่อนสิรินธรสามารถกักเก็บน้ำที่ไหลบ่ามาตามแม่น้ำลำโดมน้อยไว้ได้เป็นจำนวนมาก จึงช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วม

การประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ทำให้ราษฎรมีอาชีพหลักเพิ่มขึ้น

การคมนาคม สามารถใช้อ่างเก็บน้ำเป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อค้าขาย และคมนาคมขนส่งผลผลิต ออกสู่ตลาดได้สะดวกอีกทางหนึ่ง

การท่องเที่ยว ความสวยงามสงบร่มรื่นของภายในบริเวณเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ เป็นสิ่งดึงดูดใจให้ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมและพักผ่อนหล่อนใจเป็นจำนวนมาก

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี

เขื่อนภาคใต้


ชื่อเขื่อน : เขื่อนบางลาง

สถานที่ตั้ง : อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ห่างจากตัวอำเภอเมือง 58 กิโลเมตร

ลักษณะเขื่อน : เขื่อนบางลาง ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความสูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 430 เมตร กว้าง 10 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน 2,080 ตารางกิโลเมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดเครื่องละ 24,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง
เขื่อนบางลาง เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้า สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานีที่บริเวณบ้านบางลาง ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2519 แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524

ประโยชน์
ด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งน้ำที่ปล่อยออกมาสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ เฉลี่ยปีละประมาณ 200 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ช่วยบรรเทาอุทกภัยในบริเวณตอนล่าง ของลุ่มแม่น้ำปัตตานีที่เคยเกิดขึ้นเสมอได้เป็นอย่างดี

ด้านการเพาะปลูก น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางสามารถอำนวยประโยชน์ ในด้านการชลประทานแก่พื้นที่เพาะปลูก ของจังหวัดยะลาและปัตตานีเป็นพื้นที่ 380,000 ไร่

เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญในภาคใต้ ที่ช่วยเสริมอาชีพและรายได้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อน

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดยะลา

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี




ชื่อเขื่อน : เขื่อนรัชชประภา หรือ เขื่อนเชี่ยวหลาน

สถานที่ตั้ง : อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลักษณะเขื่อน : เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 2,598 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง

เขื่อนรัชชประภา เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้า สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อเดิมเรียกว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2530 เมื่อสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน 2530

ประโยชน์
ด้านพลังานไฟฟ้า มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ส่งพลังไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ด้วยสายส่งไฟฟ้าขนาด 230 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานี ไฟฟ้าแรงสูงสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 50 กิโลเมตร และขนาด115 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงพังงา ระยะทาง 82 กิโลเมตร

การชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนให้ประโยชน์ต่อการเพาะปลูกพืช บริเวณสองฝั่งแม่น้ำในตอนล่าง เป็นผลให้พื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ ในเขตท้องที่ตำบลตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอพุนพิน สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้ผลดี

บรรเทาอุทกภัย การกักเก็บน้ำของเขื่อนในฤดูฝน จะช่วยลดความรุนแรงของสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างได้เป็นอย่างดี

การประมง อ่างเก็บน้ำของเขื่อนรัชชประภาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง

การท่องเที่ยว ทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสวยงามมากจนได้ชื่อว่ากุ้ยหลินเมืองไทย บริเวณเกาะแก่งในเขื่อนยังมีแพพักของอุทยานฯ ไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้ไปท่องเที่ยวพักผ่อน ในแต่ละปีสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละกว่า 70,000 คน สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ทั้งคนขับเรือนำเที่ยว และการค้าขายบริเวณสันเขื่อน

การผลิตไฟฟ้า พลังน้ำจากเขื่อนสามารถนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึงปีละ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าในภาคใต้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น

แก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม ในฤดูแล้งลำน้ำตาปี-พุมดวงมีปริมาณน้ำลดลง ทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสียได้ง่าย ขณะเดียวกันบริเวณปากแม่น้ำจะมีน้ำเค็มหนุนขึ้นมา น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนรัชชประภาจะช่วยเจือจางน้ำเสียในลำน้ำ และผลักดันน้ำเค็มที่ปากแม่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบการท่องเที่ยว ตัวเขื่อนเป็นการดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสก ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภาจะมีแพที่พักไว้บริการ เป็นแพของทางอุทยาน 3 แพ แต่ละแพอยู่ในตำแหน่งที่มีทัศนียภาพสวยงาม และยังมีอแพของเอกชนอีก 3 แพ การเที่ยวเขื่อนรัชชประภาสำหรับคณะที่มีเวลาน้อยจะขับรถมาจอดที่จุดชมวิวบนสันเขื่อน ชมแบบแว๊บๆ แล้วก็กลับ บางคณะพอมีเวลาหน่อยก็จะเช่าเรือหางยาวนั่งชมทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำ เรือจะพาไปถึงแพของอุทยาน ขึ้นแพพักผ่อนอริยาบท ชมทัศนียภาพ ถ่ายรูปแล้วก็เดินทางกลับ แต่สำหรับคณะที่ต้องการพักผ่อนบนแพท่ามกลางธรรมชาติก็จะพักค้างคืนบนแพ กิจกรรมที่น่าสนใจระหว่างที่พักอยู่ที่แพคือ ชมวิว เล่นน้ำ พายเรือแคนู ตกปลา และอีกกิจกรรมที่น่าสนใจคือการไปเที่ยวถ้ำซึ่งจะต้องเดินป่าเข้าไป ระหว่างทางจะได้สัมผัสความสมบูรณ์ของป่าดิบของภาคใต้ เดือนไม่ไกลพอได้บรรยากาศการเดินเที่ยวป่าสัมผัสธรรมชาติ และอีกกิจกรรมหนึ่งคือการนั่งเรือชมวิว วิวในอ่างเก็บน้ำสวยเกินคำบรรยาย ไม่ใครสักคนที่จะบอกว่าไม่สวย

มีบันไดปลาโจนหรือไม่ : ไม่มี